วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ชีวประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี ตอน 4


การอาพาธและละสังขารพระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
            พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) พระวิปัสนาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน ละสังขารแล้วเมื่อเวลา 05.34 น.วันที่ 16 ส.ค.2554 ด้วยโรคชรา ภายในศาลากลางน้ำ วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด อายุ 94 ปี 3 เดือน 13 วัน หลังจากหลวงปู่ฯอาพาธมาตั้งแต่ ปี 2550 ศิษย์ยานุศิษย์นำเข้ารักษาตัวและเข้าออก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่นจำนวนหลายครั้ง
พระปฏิบัติดัง "หลวงปู่ศรี มหาวีโร" ศิษย์ "หลวงปู่มั่น" อีกรูป ได้มรณภาพด้วยโรคหัวใจรั่วและโรคชรา เมื่อช่วงเช้ามืดวันที่ 16 ส.ค. รวมอายุ 94 ปี 65 พรรษา ศพตั้งบำเพ็ญกุศลวัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด...
            ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้ามืดวันที่ 16 ส.ค. พุทธศาสนิกชนจำนวนมากได้พากันไปที่วัดประชาคมวานาราม (วัดป่ากุง) เลขที่ 80 หมู่ 11 ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด หลังทราบข่าวว่า พระเทพวิสุทธิมงคล หรือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร เจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) อายุ 94 ปี 3 เดือน 13 วัน ได้มรณภาพลงด้วยโรคหัวใจรั่ว และโรคชรา เมื่อเวลา 05.34 น.วันเดียวกันนี้
            พระครูวินัยธร วิกรมธรรมเตโช อายุ 50 ปี เลขานุการของหลวงปู่ศรี ในฐานะรองเจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง) เปิดเผยถึงกำหนดการประกอบพิธีต่าง ๆ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้หลวงปู่ศรี ว่าต้องรอคณะสงฆ์ จ.ร้อยเอ็ด พร้อมด้วยศิษยานุศิษย์ใน จ.ร้อยเอ็ด และจากหลายจังหวัด ประชุมหารือกันก่อน
            ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า หลังจากข่าวการละสังขารของหลวงปู่ศรี ถูกเผยแพร่แบบปากต่อปาก และสื่อวิทยุกระจายเสียงใน จ.ร้อยเอ็ด เผยแพร่ข่าว ปรากฏว่าบรรดาผู้เคารพนับถือ ศิษยานุศิษย์ จากหลายจังหวัด พากันเดินทางไปเคารพศพตั้งแต่เช้ามืด อย่างเนืองแน่น ทำให้ตำรวจ สภ.ศรีสมเด็จ ต้องจัดกำลังตำรวจจราจร อำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ ขณะที่ อบต.ศรีสมเด็จ กำลังหางบประมาณพิเศษ ซ่อมถนนสายเข้าวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ให้สะดวกยิ่งขึ้น
            สำหรับหลวงปู่ศรี  เป็นพระป่า ศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ เป็นพระสงฆ์ผู้นำสร้างวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ที่หน้าผาน้ำย้อย ต.โคกสว่าง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด เมื่อ พ.ศ. 2528 ซึ่งบริเวณที่สร้างวัดเป็นป่าทึบและเป็นที่พักของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ หลังจากหลวงปู่ศรี บรรยายธรรมให้ฟังแล้ว ผกค.ได้ย้ายออกจากบริเวณป่าดังกล่าว เพื่อให้หลวงปู่ศรี สร้างวัด ต่อจากนั้นจึงเป็นผู้นำสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล สูง 109 เมตร ฐาน 4 เหลี่ยม กว้างด้านละ 101 เมตร ยอดเจดีเป็นฉัตรทำด้วยทองคำแท้หนัก 62 ก.ก. อยู่บนหลังภูเขาเขียว อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ซึ่งมหาเถรสมาคมมีมติให้ ใช้ เป็นที่เผยแพร่พระพุทธศาสนา ปฏิบัติธรรม และทุกศาสนาในโลกสามารถเข้าใช้เป็นที่เผยแพร่และปฏิบัติตามคำสอนของแต่ละศาสนา มูลค่าก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท เป็นที่รู้จักของศาสนิกชน และนักท่องเที่ยวทั่วโลก
            นอกจากนั้น ยังเป็นพระผู้นำสร้างวัดในหลายจังหวัด และยังเป็นพระผู้นำสร้างวัดไทยในเกาะฮ่องกง ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอินโดนีเซีย และให้การสนับสนุนวัดไทยทั้งในประเทศและนอกประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย เป็นผู้นำสร้างตึกสงฆ์อาพาธอยู่ใน ร.พ. ร้อยเอ็ด อ.หนองพอก และ อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคามสนับสนุนสร้างอาคารเรียนของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด (มมร.วิทยาเขต ร้อยเอ็ด) และยังเป็นผู้ก่อตั้ง มูลนิธิหลวงปู่ศรี มหาวีโรให้การช่วยเหลือผู้เดือดร้อน ฯลฯ
            หลวงปู่ศรี เริ่มอาพาธตั้งแต่กลางปี 2550 ด้วยโรคหัวใจรั่ว และโรคชรา เข้ารับการรักษาใน รพ.ร้อยเอ็ด และ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น ก่อนจะมรณภาพ โดยโรคหัวใจรั่ว และโรคชรา เมื่อเวลา 05.34 น.วันที่ 16 ส.ค. 54 รวมอายุได้ 54 ปี 3 เดือน 13 วัน  รวมบวช 65 พรรษา
พระราชทานเพลิงสรีระสังขาร หลวงปู่ศรี’ 14 ม.ค. 2555
จังหวัดร้อยเอ็ดเร่งสร้าง เมรุชั่วคราว "สู จิตกาธาน" ในพิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร หลวงปู่ศรี มหาวีโร ณ วัดประชาคมวนาราม โดยพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 14 ม.ค.เวลา 16.00 น. ...
            นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวถึง การเตรียมงานพระราชทานสรีระสังขารพระเทพวิทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดป่ากุง ศิษย์รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งละสังขารตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. 54 ด้วยโรคหัวใจรั่ว และโรคชรา สิริอายุได้ 94 ปี 3 เดือน 13 วัน ว่า ที่ผ่านมาได้รับหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 30 ธ.ค. 54 จาก นายประยูร ผ่องแผ้ว รองเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทนราชเลขาธิการ ความว่า อ้างถึงหนังสือจังหวัดร้อยเอ็ด ลงวันที่ 21 ก.ย. 54 ขอให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานเชิญเสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงศพ พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) ณ เมรุชั่วคราววัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ระหว่างวันเสาร์ที่ 14 – 16 ม.ค. 55 เวลา 16.00 น. วัน และเวลาใด สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ความแจ้งแล้วนั้น ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จแทนพระองค์ไปในการนี้ ซึ่งทรงกำหนดจะเสด็จฯ ในวันเสาร์ที่ 14 ม.ค. 55 เวลา 16.00 น. และประทานอนุญาตให้บันทึกภาพและวีดิทัศน์ในโอกาสดังกล่าว 
ขณะที่นายพิบูลย์ แพนพา นายอำเภอศรีสมเด็จ กล่าวว่า ขณะนี้บรรดาช่างก่อสร้าง เมรุชั่วคราว "สู จิตกาธาน" เพื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ กำลังเร่งมือทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เหลือเพียงการตกแต่งเท่านั้น คาดว่าจะทันวันประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ ทั้งนี้ เมรุชั่วคราวสร้างจากทรัพย์ศิษยานุศิษย์ทั้งที่อยู่ในประเทศ และต่างประเทศ และผู้เคารพนับถือหลวงปู่ศรี มหาวีโร พากันบริจาคสร้างเป็นเงินจำนวนกว่า 50 ล้านบาท ซึ่งเมรุชั่วคราวนี้ หลังจากพิธีพระราชทานเพลิงศพ และประกอบพิธีสามหาบเก็บอัฐิแล้ว จะใช้เป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ให้พุทธศาสนิกชน  และอนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาหาความรู้ต่อไป
 ภาพงานพระราชทานเพลิงสรีระสังขาร หลวงปู่ศรี’ 14 ม.ค. 2555













อนธการย่านป่ากุง
เมื่อประทีปอีกดวงมาล่วงดับ
ใจหายวับโศกเศร้าเคล้าหม่นหมอง
วันที่รูปร่างกายไร้จิตครอง
ตามครรลองไตรลักษณ์ต้องจากจร

นมัสการลาท่านในวันท้าย
ด้วยดวงใจจำติดคิดคำสอน
เวลาผ่านสังขารแปรไม่แน่นอน
ควรอาวรณ์ผลบุญคุณความดี
คำของผู้ยิ่งใหญ่ในการก่อนไม่ยอกย้อน บรมครูหลวงปู่ศรีแสนอาลัยยิ่งแล้วแก้วมณีหลวงปู่ศรีจากลับกลับนิรันดร์
เท่าที่จำความได้
เมื่อก่อนสมัยเป็นเด็กพอถึงวันพระ ผู้ ฒ ผู้ แก่ได้พาไปปฏิบัติธรรมฟังคำสอนของหลวงปู่ที่วัดป่ากุงเป็นประจำ ก่อนนั้นถนนหนทางจากบ้านก่อไปที่วัดป่ากุงต้องเดินลัดเลาะตามคันนา ลัดป่าช้ากว่าสองกิโลเมตร ก็ไปตามประสาเด็กไม่ค่อยรู้เรื่องธรรมคำสอนเท่าไหร่ ไปสวดมนต์ตามผู้ใหญ่ที่พาไป ไปจนคุ้นเคย จนเวลาล่วงเลยมาเนิ่นนานค่อยมาค่อยๆ ทราบว่าคำสอนของหลวงปู่ศรีฯไม่ได้มีแต่เฉพาะระดับของโลกียโลก แต่ท่านมุ่งหมายให้ผู้ฟังเข้าใจมากกว่าข้าพเจ้าจึงนำประวัติของหลวงปู่มาดัดแปลงใหม่หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาต่อไป


พิธีพระราชทานเพลิงสรีระสังขารหลวงปู่ศรี มหาวีโร


ชีวประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี ตอน 3


พรรษาที่ 20 – 42
               ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ – ๒๕๓๐ จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
               ดั่งตะวันโผล่เหนือขอบฟ้า
               นับเป็นเวลาถึง ๘ ปี ที่หลวงปู่ศรี ท่านได้ไปเที่ยววิเวกภาวนาและจำพรรษาในถิ่นอื่น การย้อนกลับมาถิ่นเดิมของท่าน ช่างเป็นความจริงอย่างที่หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ได้บอกไว้ว่า “ท่านศรี ท่านจะหนีจากเมืองร้อยเอ็ดไปไหนไม่ได้ดอก” ก็เป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้อย่างที่ใคร ๆ ไม่อาจปฏิเสธได้การกลับมาของท่านในคราวนี้ ดั่งลำแสงแห่งตะวันโผล่ขึ้นมาเหนือขอบฟ้าของจังหวัดร้อยเอ็ด ส่องแสงสว่างจ้ามาแต่ไกล ย่อมยังความมืดมิดให้ปลาสนาการหายไป ยังความหลับใหลของบุคคลผู้หลงให้ตื่นจากความงมงาย กลายเป็นคนผู้รู้ตื่นเบิกบาน
               ในเช้าวันนั้นเมื่อชาวบ้านเห็นท่านกลับมาเดินเที่ยวรับภิกขาจารบิณฑบาตอย่างเมื่อหลายปีก่อน ต่างคนก็ต่างดีอกดีใจวิ่งบอกข่าวแก่กันและกัน รอยยิ้มแววตาและจิตใจที่ชื่นบานแผ่ปกคลุมไปโดยทั่ว กระแสลำแสงแห่งธรรมภายในของหลวงปู่ศรี เจิดจ้ายิ่ง กว่าแสงพระอาทิตย์ในยามเช้าวันนั้นเสียอีก เสี้ยนหนามคือกิเลสชั่วหยาบ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อวิชชา อุปาทาน ที่มีอยู่ดาษดื่นเที่ยวทิ่มแทงดวงจิตของมนุษย์และสัตว์เป็นจำนวนมากคราวนี้มีหวังถูกบ่งออกได้ด้วยธรรมของท่านผู้ทรงธรรมเป็นอริยสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
               แต่มีคนและพระใจบาปอีกจำนวนไม่น้อยในเขตอำเภอเมือง (ปัจจุบันอำเภอศรีสมเด็จ) ที่อิจฉาริษยาในการกลับมาของท่าน ถึงขนาดเที่ยวป่าวประกาศว่า “คอมมิวนิสต์กลับมาบ้านแล้ว” คนเหล่านี้เที่ยวขัดขวาง แสดงอำนาจบาตรใหญ่ ข่มขู่เบียดเบียนทุกวิถีทาง ไม่ให้ท่านสร้างวัดและสร้างความเจริญทางด้านศีลธรรมและวัตถุธรรม ดังข้อความตอนหนึ่งที่ท่านบันทึกไว้ในสมุดบันทึกของท่านว่า จดหมายจากที่ทำการเจ้าคณะตำบล ขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด ส่งมาถึงพระอาจารย์ศรีเพื่อระงับการสร้างวัดว่า
               "การตั้งวัดป่ากุง ผู้ใหญ่บ้านทายกทายิกาทั้งหลาย มีบ้านบาก บ้านหนองสองห้อง บ้านหนองแวง บ้านเหล่าล้อ บ้านก่อ ทางเจ้าคณะผู้ปกครองได้ทราบว่า ญาติโยมทั้งหลายมีวัดประจำหมู่บ้านดังกล่าวแล้ว จะคิดหรือปลูกสร้างสำนักขึ้นที่วัดร้างบ้านกุงเก่า เรื่องนี้หากจะสร้างจริง ? ให้ญาติโยมเสนอรายงานไปยังเจ้าคณะปกครองเสียก่อนจึงสร้างได้ มิฉะนั้นผิดระเบียบ ให้งดเสียก่อนดีกว่ามันจะยุ่งไปใหญ่
               ลงชื่อ พระปลัดพรหม เจ้าคณะตำบลขอนแก่น
               และอีกฉบับหนึ่งเพื่อระงับการขยายเขตวัด จดหมายจากที่ทำการกำนัน ตำบลขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด ส่งมาถึงพระอาจารย์ศรีว่า
               วัดประชาคมวนาราม
               แต่ไม่มีใครอาจรู้ได้ว่า การกลับมาของท่านในคราวนี้ ท่านได้ครองวิมุตติสุข เหล่าเทวดาอารักษ์มาแสดงความยินดีอนุโมทนาในธรรมวิเศษและต้อนรับท่านอย่างดาษดื่น นัยว่าจะเป็นการกลับมาเพื่อเสริมสร้าง สิ่งมหัศจรรย์อันเป็นคุณประโยชน์ใหญ่ให้แก่ประเทศชาติพระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ อย่างที่สุดจะคิดและคาดเดาได้เมื่อท่านอยู่ได้ไม่นานนักทายกทายิกาประชาชนเห็นพ้องต้องกันว่าจะบูรณะปรับปรุงวัดป่ากุงแห่งนี้ ให้เป็นวัดวาอารามสมบูรณ์ถาวรมั่นคงสืบไป จึงได้ดำเนินการขออนุญาตจากทางราชการจัดตั้งเป็นวัดขึ้น โดยให้ชื่อตามความหมายที่ประชนร่วมกันสร้างว่า “วัดประชาคมวนาราม” (ป่ากุง) ในสังกัดคณะธรรมยุตติกนิกาย ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๘ โดยมีท่าน (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) เป็นเจ้าอาวาสปกครองและบูรณปฏิสังขรณ์ให้เจริญรุ่งเรืองตลอดมา ณ วัดประชาคมวนารามแห่งนี้ ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะไว้มากหลายสุดที่จะกล่าวได้หมด ได้ขยายอาณาเขตจากเดิมเริ่มแรก ๔ ไร่ เป็น ๒๙ ไร่ และเพิ่มเป็น ๓๑๔ ไร่ ๒ งาน
               เมตตาสรรพสัตว์
               การขยายอาณาเขตวัดของท่านเป็นไปด้วยความเมตตาต่อสรรพสัตว์หาประมาณมิได้ วัดป่ากุงฯ นอกจากจะมีเขตพุทธาวาส สังฆาวาส เขตอุบาสิกาและแม่ชีแล้ว เขตแห่งหนึ่งซึ่งวัดอื่นนั้นไม่ค่อยมี นั้นก็คือ เขตที่อยู่ของสัตว์ธรรมชาตินานาชนิด ม้า เก้ง กวาง นกยูง กบเขียด อึ่งอ่าง ปูนา ตะกวด เป็นต้น การขยาย
               อาณาเขตวัดนั้น ท่านดำริว่า
               ที่อยู่ของคนมันก็มีมากแล้ว แต่ที่อยู่ของสัตว์ที่เป็นอาหารเลี้ยงผู้คนจนจะล้นโลกล้นแผ่นดิน ล้นประเทศ ล้นเมือง แทบจะไม่ค่อยมี ทุ่งนาอันเวิ้งว้างข้างบริเวณวัดนี้ ฤดูฝนกบเขียดอึ่งอ่างมันร้องระงมอย่างน่าสงสาร มีผู้คนมาจับไปกินไปขายได้คนละหลายกระสอบ บริเวณข้างวัดป่ากุงนี้อุดมไปด้วยสัตว์ตามธรรมชาติ ถ้าไม่รักษาเอาไว้ สัตว์เหล่านี้ก็จะสูญหายสูญพันธุ์ไปกับปากท้องมนุษย์ที่ไม่มีวันอิ่มเสียหมด
               และท่านย้ำเป็นธรรมะตบท้ายอย่างน่าฟังว่า ปูไม่มีหัวก็ยังเดินได้ งูไม่มีตีนก็ยังเลื้อยได้ แม่ไก่ไม่มีนมก็ยังเลี้ยงลูกได้ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรดูหมิ่นสัตว์ ผู้มีปัญญาควรช่วยเหลือผู้ที่ต่ำต้อยกว่าร่างกายของมนุษย์และสัตว์จะมีประโยชน์เพราะรู้จักช่วยเหลือกัน สัตว์ได้ช่วยเหลือมนุษย์ไม่ให้ตาย เพราะมนุษย์ได้เอาร่างกายชีวิตสัตว์มาเป็นอาหารมนุษย์เมื่อมีกำลังก็ควรช่วยเหลือสัตว์ที่ตนเองเคยบริโภค
               เมื่อท่านดำริเช่นนั้น คณะศิษยานุศิษย์ต่างพากันสละจตุปัจจัย ซื้อทุ่งนารอบ ๆ บริเวณวัด จนกลายเป็นวัดป่ากุงที่กว้างใหญ่ ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้ สัตว์ไพร คุ้งน้ำ เป็นรมณียสถานอันสงบสำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา พ่อค้าประชาชน ชาวบ้าน ผู้แสวงบุญมุ่งตรงต่อมรรค ผล พระนิพพาน และยังเป็นที่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่ต่าง ๆ ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยร่มใบบุญของท่านนั้นเอง
               ไม่เพียงแต่ในอาณาบริเวณเขตวัดป่ากุงเท่านั้นที่เมตตาท่านแผ่ไป สายลมเย็นฉ่ำแห่งเมตตาของท่านยังแผ่ปกคลุมไปโรงพยาบาล โรงเรียน สถานสงเคราะห์ ฯลฯ ทั่วประเทศ ส่วนมูลค่าสาธารณกุศลสงเคราะห์ที่ผ่านจิตเมตตาของท่าน ไม่สามารถนำมาแจกแจงได้หมด ถ้าหากนำมาบันทึกหรือเขียนลงในหนังสือเล่มนี้ทั้งเล่มก็สาธยายได้ไม่หมด ผู้เขียนจึงขอยกไว้ จักขอกล่าวแต่เรื่องเกี่ยวกับจิตใจเป็นหลักใหญ่ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ขององค์ท่านเองอย่างแท้จริง
               สำหรับพระธรรมเทศนาของท่าน เมื่อร่างกายท่านยังแข็งแรงดี ท่านจะแสดงธรรมโปรดญาติโยมทุกวัน ธรรมะของทานแสดงเป็นภาษาอีสานเข้าใจง่ายเป็นกันเอง บุคคลทั่วไปไม่ว่าเพศวัยใดก็ตาม เข้าหาท่านได้ง่าย ท่านไม่ถือองค์ว่ามีชื่อเสียงโด่งดัง
                ข้อวัตรปฏิบัติ
               พระภิกษุสามเณรที่เข้ามาศึกษายังสำนักวัดป่ากุงฯ หรือวัดสาขาต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ท่านตั้งไว้อย่างเคร่งครัด คือ (นำมาลงเพียงบางส่วน)
               เวลา ๐๓.๐๐ น. - ๐๕.๐๐ น. ตื่นนอนเตรียมทำวัตรเช้า ฟังอบรมกัมมัฏฐาน นั่งสมาธิภาวนา ทำความสะอาดศาลาและบริเวณวัดที่ได้รับ มอบหมาย
               เวลา ๐๘.๓๐ น. - ๑๑.๐๐ น. เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา ห้ามกินแล้วนอน
               เวลา ๑๕.๐๐ น. - ๐๖.๐๐ น. ทำความสะอาดลานวัด ลานศาลา อุโบสถ และพระเจดีย์
               เวลา ๑๗.๐๐ น. ๒๑.๐๐ น. ทำวัตรเย็น ฟังธรรมภาคปฏิบัติ ทำสมาธิภาวนา
               การร่วมสังฆสามัคคีในนามศิษย์หลวงปู่ศรี ที่วัดป่ากุงฯ และวัดสาขา ต้องถือเป็นข้อปฏิบัติประจำปี ปีละ ๕ ครั้ง คือ
               ๑. วันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่ศรี ตรงกับวันที่ ๓ พฤษภาคม ของทุกปี
   ๒. วันอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๘ ของทุกปี
   ๓. วันปวารณาออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี
   ๔. วันกฐินสามัคคี ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ของทุกปี
   ๕. วันมาฆบูชา ของทุกปีเป็นวันประชุมใหญ่มูลนิธิฯ และปัญหาวัดสาขา ที่ดินวัด ฯ
 

                เรื่องการเงิน-การบัญชีของทางวัดป่ากุง
               หลวงปู่ศรี มหาวีโร จัดให้มีคณะกรรมการบริหารงานประจำคือ ๒๕ รูป/คน โดยมีพระสงฆ์เป็นหลัก บริหารในรูปแบบของการจัดตั้งมูลนิธิ คือ
               ๑. มูลนิธิพระอาจารย์ศรี มหาวีโร (Pra Archarn Sri Maha Veero Foundation) เริ่มต้นจากศรัทธาวัดสาขาของท่านประมาณ ๑๔๕ วัด ตั้งเป้าไว้ ให้หาทุนเข้าช่วยกัน วัดละ ๑ ล้านนาท และศรัทธาทำบุญกับหลวงปู่ศรีในแต่ละวันก็รวมเข้าในมูลนิธิพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ปัจจุบันมีเงินอยู่ ๒๖๕,๐๐๐,๐๐๐ (สองร้อยหกสินห้าล้านบาท)
               วัตถุประสงค์หลักของมูลนิธิ
               - เพื่อเป็นสมณบริขาร พระเณร ชี อุบาสก อุบาสิกา ที่มาปฏิบัติธรรม และช่วยเหลือภิกษุผู้อาพาธ หรือค่ายานพาหนะในการธุดงควัตร หรือในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน
               ช่วยเหลือเด็กนักเรียน นักศึกษาที่ประพฤติดี แต่ยากจน
               - ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมหรืออุบัติเหตุ ในการปฏิบัติหน้าที่ทางพลเมืองดีหรือทางสังคมสงเคราะห์หรือสาธารณะประโยชน์ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
               - เพื่อช่วยเหลือกิจการศาสนา ทำนุ บำรุง ส่งเสริมซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล/พระเจดีย์หิน และกิจการสาธารณะประโยชน์ บูรณะสถานพยาบาลสาธารณะ หรือช่วยเหลือกิจการสภากาชาดไทย
               - เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ยากไร้ ในการประกอบสัมมาชีพที่คณะกรรมการเห็นสมควร หรือส่งเสริมผู้ประกอบสัมมาชีพดีเด่น
               - เพื่อร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้โดยวัตถุประสงค์ทั้งหมดไม่เกี่ยวกับการเมือง

               - เพื่อช่วยเหลือกิจการป้องกัน หรือบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ
               ๒. มูลนิธิอนุสรณ์พระกฐินต้น
               เริ่มทุนมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
               พระราชทานทุนทรัพย์ ๒๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อขยายที่ดิน ปัจจุบันมี เงินอยู่ ๑๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
               นอกจากนี้วัดป่ากุงฯ ยังได้เป็นที่ตั้งศูนย์อบรมศีลธรรมของคณะกรรมการส่งเสริมพระพุทธศาสนาประจำหมู่บ้าน (ก.ส.ศ.ป) หลวงปู่ศรีฯ ท่านได้รับแต่งตั้งจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะภาค ๘-๙-๑๐-๑๑ (ธ) เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๕ (พิเศษ) และหน่วยสงเคราะห์ พุทธมามกะผู้เยาว์ (น.พ.ก.) เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสจังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนการศึกษาอบรม ท่านหลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้อบรมหนักไปในทางปฏิบัติวิปัสสนาธุระกัมมัฏฐานเป็นส่วนมาก เน้นหนักไปในทาง ศีล สมาธิ และปัญญา ที่ได้ศึกษา มาเป็นอย่างดีจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นหลักปฏิบัติ วัดนี้มีพระเจ้าพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ไม่น้อยกว่าปีละ ๒๕ - ๓๐ รูป มีทายกทายิกาและชาวพุทธทั้งปวงมารักษาศีลฟังเทศน์และรับการอบรมศีลธรรมในวันธรรมสวนะไม่น้อยกว่าวันละ ๑๐๐ คน โดยมิได้เลือกว่ากาลในพรรษาหรือนอกพรรษา ถ้าหากเป็นวันสำคัญ ทาง ศีล สมาธิ และปัญญา ที่ได้ศึกษา มาเป็นอย่างดีจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นหลักปฏิบัติ วัดนี้มีพระเจ้าพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ไม่น้อยกว่าปีละ ๒๕ - ๓๐ รูป มีทายกทายิกาและชาวพุทธทั้งปวงมารักษาศีลฟังเทศน์และรับการอบรมศีลธรรมในวันธรรมสวนะไม่น้อยกว่าวันละ ๑๐๐ คน โดยมิได้เลือกว่ากาลในพรรษาหรือนอกพรรษา ถ้าหากเป็นวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาและวัน
               พระพุทธศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชาและวันทอดกฐินสามัคคี เป็นต้น ชาวพุทธย่อมมาประชุมกัน ณ “ศาลามหาวีรธรรมสภา” มากเป็นพิเศษ แม้ศาลาจะกว้างใหญ่ไพศาลเห็นปานนี้ก็ตาม แต่ก็ดูเป็นแคบไปถนัดทีเดียว และสิ่งที่น่ายินดีและปลาบปลื้มปีติเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา และเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จมาทอดพระกฐินส่วนพระองค์ที่วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุงเก่า) ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติประวัติแก่ชาวจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นอย่างยิ่ง
                ธรรมยาตรา
               ด้วยอุปนิสัยที่ชอบธุดงค์ธรรม เมื่อออกพรรษาแล้ว หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านจะพาสานุศิษย์ออกเที่ยวธุดงค์ธรรมยาตราไปตามหมู่บ้าน ตำบล อำเภอต่าง ๆ ที่มีป่า มีโคก มีดอน ที่ ๆ ชาวบ้านนิยมนับถือผีปู่ตา ผี ป่า ผีแถน ผีฟ้า ฯลฯ ท่านมักจะไปในที่ที่ผีดุ ๆโดยเอาธรรมของจริงจาริก ไปโปรดคนและผี โปรดให้ชาวบ้านเปลี่ยนจากการนับถือผีมานับถือพระพุทธเจ้าแทน โปรดผีมิจฉาทิฏฐิ เที่ยวหลอกหลอนชาวบ้านเป็นงาน สนุก ให้เป็นผีที่มีความเห็นชอบ ประกอบกรรมดี
               ธรรมะหลักใหญ่ที่ท่านเน้นสอนชาวบ้านนั้นก็ค่อยให้เขาละเว้นสิ่งที่เป็นอบายมุข โทษของการเล่นการพนันสลากกินรวบ รู้จักเคารพในสิ่งที่ควรเคารพ บูชาในสิ่งที่ควรบูชา มีความจงรักภักดี ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เป็นต้น
               ท่านปรารภว่า “ประชาชนชาวบ้านผู้มีอุปนิสัยในทางธรรม เมื่อได้สนทนาธรรม ได้ฟังธรรมจากท่านซึ่งเป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริงแม้เพียงครั้งเดียว ก็จะได้รับประโยชน์และความสุขอันมีพระนิพพานเป็นที่สุดได้เช่นกัน
               สายทางธรรมที่ท่านเที่ยวจาริกกรรมฐานโปรดชาวบ้านในยุคนั้น เริ่มแรก (ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเพียงบางส่วน ที่หลวงปู่ศรีฯ บันทึกไว้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม - ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๘) ท่านไปทางอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
               ที่ตำบลชุมพระ มีประชาชนที่ศรัทธาเลื่อมใส เลิกนับถือผีหันหน้าเข้าหาพระรัตนตรัยจำนวน ๗,๓๕๓ คน
               ตำบลบึงงาม อำเภอโพนทอง มีผู้เลิกนับถือผี ๔,๕๘๐ คน ที่บ้านโพนสว่าง มีศรัทธาถวายที่ดิน ๑๖ ไร่ เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน
               ตำบลขามเบี้ยมีประชาชนมาฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๕,๔๓๘ คน ตำบลอุ่มเม้า มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๑,๕๙๒ คน และมีศรัทธาถวายที่ ๔ ไร่ ๑ งาน เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน ตำบลกกโพธิ์ มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๖,๐๘๘ คน และมีศรัทธาถวายที่ ๕๔ ไร่ เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน ตำบลสว่าง มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๖,๗๘๖ คน และมีศรัทธาถวายที่ ๖ ไร่ ๑ งาน เพื่อสร้างเป็นวัดป่ากรรมฐาน ตำบลโนนไชยศรี มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๓,๖๔๐ คน
               ตำบลสะอาด มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๒,๔๒๓ คน
               ตำบลเชียงใหม่ มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๔,๓๗๐ คน
               ตำบลหนองใหญ่ มีผู้มารับฟังพระธรรมเทศนาและเลิกนับถือผี ๑,๗๒๖ คน
               ธรรมของท่านจึงแผ่ไปทั่วทุกทิศ ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใส จากดงดอนศาลผีปู่ผีตาที่ท่านเดินธุดงค์ผ่านมาพัก ภายหลังได้กลายเป็นวัดวาอารามกรรมฐานเต็มทั่วไปหมด
               ในเรื่องเผยแผ่ธรรม ปราบผี สร้างวัดกรรมฐาน สอนคนชั่วให้กลับมาเป็นคนดี บารมีธรรมของท่านจึงแผ่ขยายกว้างไกล จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป
               เรื่องท้าวสีทนกับนางมโนรา
               หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านออกเที่ยวสั่งสอนประชาชนในที่ต่าง ๆ มี วรรณกรรมอีสานเรื่องหนึ่งที่ท่านมักจะยกเปรียบเทียบเสมอคือเรื่องท้าวสีทนกับนางมโนรา ท่านแสดงไว้ว่าเดี๋ยวนี้โลกของเราติดกันอยู่มุมนี้แหละ (มุมเงิน) สีทนมโนรา เป็นนิยายอันหนึ่ง เป็นบุคคลาธิษฐาน จะจริงหรือไม่จริงก็แล้วแต่ แต่เมื่อเป็นบุคคลาธิษฐานแล้ว เราน้อมมาเป็นธรรมาธิษฐานได้ ชื่อท่านก็บอกไว้แล้ว สีทน มโนรา แต่เรื่องย่อๆ ง่าย ๆ ของนิทานนี้ ใคร ๆ ก็พอจะรู้จัก
               มโนรา ผู้แปลว่า จิตใจ จิตใจนี้สามารถเหาะไปถึงไหนถึงไหนก็ได้
               สีทน อันนี้ก็หมายถึงร่างกายของเรานี้แหละ คือความอดทนก็ได้
               ความอดทนนี้เป็นคู่ของจิต ถ้าจิตไม่มีความอดทนก็อยู่ไม่ได้
               ตามเรื่องท่านว่ามโนรามีปีกก็เลยเหาะหนี จะไปเมืองภูเงินโน่น แต่พอถึงป่าดงไปพบฤๅษีเลยเอาแหวนธำมะรงค์ฝากไว้กับฤๅษี แล้วสั่งฤๅษีว่า หากผัวข้ามาให้เอาแหวนธำมะรงค์ให้เขาด้วย แล้วนางมโนราก็บินไปถึงเมืองภูเงิน กำหนดวันจะแต่งงานกับพระยาภูเงิน
               ท้าวสีทน ก็อดทนเดิน เดินไปอยู่อย่างนั้น ทนทุกข์ทรมาน เดินฝ่าป่าดง ป่าหวายหลึมคึมหวายหนา ก็อดทนฝ่าไป ไปพบฤๅษี ๆ ให้เรียนมนต์คาถาเสกใส่มะนาว ถ้ามันฝ่าไปที่ไหนไม่ได้ ก็ให้เอามะนาวขว้างไป มันจะเจาะทางเดินไปได้ และได้มอบแหวนธำมะรงค์ให้
               พอไปถึงแม่น้ำกัดเหล็กกัดทอง ทิ้งมะนาวลงไปปรากฏว่าจมน้ำไปเลย เลยข้ามน้ำไปไม่ได้ นั่งกอดเข่าร้องไห้อยู่ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำ ลูกนกอินทรีย์ ๓ ตัว เห็นสีทนนั่งร้องไห้อยู่ก็ลงมาถามว่า “ทำไมมาร้องไห้อยู่ที่นี่
               สีทนก็เล่าให้ฟังว่า เมียหนีไปอยู่เมืองภูเงิน จะไปตามก็ข้ามน้ำไม่ได้
               ลูกนกอินทรีย์กิเลยแนะนำว่า “พรุ่งนี้พ่อแม่มันจะบินไปหากินอาหารที่เมืองภูเงิน เพราะเมืองภูเงินกำลังจัดงานแต่งงานนางมโนรากับพระยาภูเงิน ฉันก็จะไปด้วยขอให้ท่านแทรกเข้าไปอยู่ในขนปีกพ่อแม่ฉันก็แล้วกัน
               วันรุ่งขึ้นสีทนจึงปีนต้นไม้ขึ้นไปแทรกอยู่ในขนปีกนกอินทรีย์
               พ่อแม่นกอินทรีย์ก็พาบินไปเมืองภูเงิน พอไปถึงนกบินลงต่ำ ๆ ส่วนสีทนก็กระโดดลง แล้วไปพบสาวใช้ในวังออกมาตักน้ำอาบ จึงฝากแหวนธำมะรงค์ไปให้นางมโนรา พอนางมโนราเห็นแหวนธำมะรงค์ ก็พูดขึ้นว่า ผัวฉันมาถึงแล้วฉันไม่แต่งงานหรอก
               นี่เป็นเรื่องย่อ ๆ ทีนี้ถ้าเราจะย้อนมาเป็นธรรมาธิษฐาน
               มโนรา หมายถึงมโนหรือจิตใจของเรา ท้าวสีทนหมายถึงอดทนหรือขันติ
               มโน (จิต) กับสีทน (ขันติ) ถ้าหนีจากกันแล้วใช้ไม่ได้ (หมายความว่า การฝึกจิตต้องอดทน)
               แหวนธำมะรงค์ หมายถึงธรรมะ ที่ว่าเสกมนต์ใส่มะนาว หมายถึงฤๅษีท่านมีศีล หรือสติ พอจะต่อสู้กับทุกขเวทนาต่าง ๆ นานาได้
                การนั่งกรรมฐานมักมีเสมือนขวากหนามอยู่มากๆ คือฝั่งไปหน่อยมักจะเจ็บนั่น ปวดนี่วุ่นวาย นี่แหละคือ ฝ่าดงหนา ป่าหวายหลึมคึมหวายหนา (เดินไม่สะดวก) ต้องฝ่าให้ได้
               แต่แล้วเราต้องอาศัยขันติคือ ความอดทน ท้าวสีทนต้องสู้ดึงดันเข้าไป พอได้แหวนธำมะรงค์แล้วเหมือนได้สติ เลยไม่กลัวในการสู้กับทุกขเวทนา ดันเข้าไปเลยแต่ว่าขั้นนี้ดันเข้าไปถึงแม่น้ำกัดเหล็กกัดทองแล้วไปไม่รอด (ข้ามน้ำไม่ได้)
               จะข้ามได้ก็ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๕ (นกอินทรีย์ ๕ ตัว) คืออินทรีย์ ๕ อันได้แก่ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
               อินทรีย์ทั้ง ๕ เป็นพลังที่จะข้ามไปเมืองภูเงิน จึงจะได้เมียคืนมา ถ้าไม่เช่นนั้นเมีย (ใจ) ก็จะอยู่เมืองภูเงิน (ใจติดเงิน) เป็นอย่างนั้นใช่ไหม เห็นใคร ๆ ก็ยุ่งกับเงินกันทั้งนั้น เรียกว่าไปอยู่เมืองภูเงินกันหมด เจ้าตัววิ่งตามไม่ทัน มีมากใช้มาก เป็นหนี้มาก ยุ่งกันอยู่อย่างนั้นแหละ
               นี่แหละมโนรามันไปอยู่เมืองภูเงิน มันไปแต่งงานแล้วก็ไม่รู้ จะบินคืนมาอยู่กับตัวของตัว ก็มาไม่ได้ จิตใจมันไปยึดอยู่กับทรัพย์ภายนอก
               เมื่อพิจารณาเป็นธรรมาธิษฐานแล้วมันจะต้องเป็นอย่างนั้น คนเราชอบไปอยู่เมืองภูเงินหมด ส่วนธรรมะไม่อยากมาหาเลย ท้าวสีทนก็เดือดร้อนวุ่นวาย เพราะเมีย (ใจ) ไม่อยู่ด้วย
               ฉะนั้น คนจึงได้ทุกข์ได้ยาก ฆ่ากัน ทำลายกัน ยิงกัน คืนวานนี้ก็ได้ยินว่าแทงกันตาย หวงกันท่านั้นท่านี้ร้อยอันพันอย่าง มัน(ใจ)ไปติดอยู่ที่เงินกันทั้งนั้น อยู่แต่ร่างเปล่าๆ เลยไม่มีความอดทน โลกอันนี้ก็เลยเดือดร้อน นี่เทียบกันง่ายๆ
               มัชฌิมวัย 

                ในบางคราวแม้ท่านจะอยู่ในมัชฌิมวัยย่างปัจฉิมวัยแล้ว ท่านยังนำคณะสานุศิษย์ของท่านเที่ยวกรรมฐานเหมือนกับวัยหนุ่มๆ ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย เที่ยวอบรมสั่งสอนคนที่หลงงมงาย นับถือสิ่งที่ไร้แก่นสาร หันมานับถือพระรัตนตรัย ปรากฏว่ารายทางที่ท่านผ่านไปกลิ่นธูปควันเทียน เครื่องสังเวยภูตผี ได้กลับกลายมาเป็นเครื่องบูชาสักการะพระรัตนตรัยแม้ หนทางที่ท่านก้าวเดินจะเหน็ดเหนื่อย แต่ท่านก็ไม่ย่อท้อในการสงเคราะห์โลก
               เพราะท่านถือว่า “ร่างกายกับคุณความดีแตกต่างกันไกลลิบลับ เพราะร่างกายสลายไปทุกขณะ ๗วนคุณความดีดำรงอยู่ชั่วกัปป์ชั่วกัลป์
               อย่างเช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๑๔ ท่านพาคณะศิษย์ไปทางอำเภอโพนทอง เพราะที่นั้นมีคนนับถือ “ผีฟ้า และผีปอบ” มาก เมื่อไปถึงท่านจะเทศนาสั่งสอนขัดเกลาจิตใจคนที่นับถือผีเสียก่อน ว่า “การนับถือผีไม่มีประโยชน์ ส่วนเข้านับถือพระพุทธเจ้าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ ผู้ที่นับถือพระพุทธเจ้าแล้ว ผีไม่อาจเข้ามาทำอันตรายได้พอตกตอนค่ำท่านและคณะก็จะนอนตรงที่ว่า “ผีดุ ๆ” เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาไม่เห็นผีกล้าสามารถทำอันตรายท่านแต่อย่างใด ผู้คนเพิ่มความศรัทธาในท่านเป็นอย่างมาก แล้วท่านก็จะแสดงธรรมย้ำว่า “ชีวิตมนุษย์ไม่ควรมีผีเป็นสรณะ เพราะผีไม่ใช่ที่พึ่งที่แน่นอน ให้หันมานับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นที่พึ่งที่แน่นอนถาวรมั่นคง ใครที่มัวนับถือผีเป็นที่พึ่ง ถือว่าเกิดมาเสียชาติเกิด
               ชนทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อได้ฟังธรรมที่ท่านแสดงแล้ว ถึงกับนั่งร้องไห้เกือบทั้งหมู่บ้าน หันมาขึ้นต่อไตรสรณคมณ์ ท่านก็จะรดน้ำมนต์ให้ ในขณะที่ท่านรดน้ำมนต์ให้นั้นเสียงกรีดร้องโหยหวนของผีที่ลงอยู่ในร่างคนทั้งหลาย พยายามต่อสู้ กรีดร้องดังไปไกลหลายช่วงป่า และไม่นานคงเหลือแต่เสียงสะอึกสะอื้น และในที่สุดก็จะสงบลง เมื่อกลับไปบ้านก็จะปลดหิ้งบูชาผีที่ตนบูชาอยู่ในบ้านทิ้ง อย่างไม่อาลัยเสียดายและเกรงกลัวอีกต่อไป
               ในบางครั้งหลวงปู่ศรี ท่านก็เมตตาเล่าเรื่องผีที่ท่านสัมผัสได้ให้เฉพาะศิษย์ใกล้ชิดฟัง ท่านบอกว่าพวกภูตผีก็เหมือนมนุษย์เรานี้แหละ มีทั้งดีและชั่วเหมือนคนเรามีทั้งชั่วทั้งดี ผีไม่ดีก็ถูกจับไปกักไว้ในคุกเหมือนโลกมนุษย์เรา บ้านเมืองผีก็ใหญ่โตเหมือนบ้านเมืองในโลกมนุษย์เรา มีหัวหน้าปกครองเหมือนกันทุกอย่าง แต่ที่แตกต่างคืออำนาจของบุญ ผีทั้งหลายจะเกรงกลัวผู้มีบุญวาสนาที่สั่งสมมาดีแล้ว และผีที่มีนิสัยทางบุญก็จะสนใจในบุญเหมือนกัน แต่ที่เป็นผีเพราะต้องมาชดใช้กรรมตามวาระเท่านั้น"
               หลวงปู่ศรี ท่านเล่าเรื่องผีไว้พิสดารมาก แต่ผู้เขียนได้นำมาลงเพียงเล็กน้อย เพราะเกินนิสัยมนุษย์ทั่วไปที่รับรู้เห็นอย่างท่านได้ บางคนไม่เข้าใจเรื่องบาปบุญนรกสวรรค์อาจคิดไปได้ว่าเป็นเรื่องโอ้อวดกุเรื่องขึ้นมา จึงขอพักไว้ก่อน
               ในการเที่ยวอบรมสั่งสอนออกธรรมยาตราของท่าน ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ในบางครั้งมีผู้พยายามต่อต้านด้วยวิธีการต่าง ณ บางคนนับถือผีมาตั้งแต่โคตรเหง้า หรือโคตรของโคตรเหง้า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา จนจิตใจกลายเป็นเปรตผีไปเสียทั้งหมด เที่ยวพยายามต่อต้านท่าน เห็นว่าท่านจะผ่านไปยังหมู่บ้านใดก็ไปเที่ยวโพนทะนาป่าวประกาศล่วงหน้าว่า “คอมมิวนิสต์มาแล้ว พวกมารมาแล้ว มาในคราบของพระภิกษุเป็นผู้นำ ให้ชาวบ้านพากันระวังอย่าหลงเชื่อ
               ในการเที่ยวอบรมสั่งสอนออกธรรมยาตราของท่าน ไม่ได้ราบรื่นเสมอไป ในบางครั้งมีผู้พยายามต่อต้านด้วยวิธีการต่าง ณ บางคนนับถือผีมาตั้งแต่โคตรเหง้า หรือโคตรของโคตรเหง้า ตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหา จนจิตใจกลายเป็นเปรตผีไปเสียทั้งหมด เที่ยว พยายามต่อต้านท่าน เห็นว่าท่านจะผ่านไปยังหมู่บ้านใดก็ไปเที่ยวโพนทะนาป่าวประกาศล่วงหน้าว่า “คอมมิวนิสต์มาแล้ว พวกมารมาแล้ว มาในคราบของพระภิกษุเป็นผู้นำ ให้ชาวบ้านพากันระวังอย่าหลงเชื่อ
               เมื่อท่านเดินทางไปถึงพวกมารเหล่านี้ก็จะคอยก่อกวนด้วยวิธีการต่าง ๆ ทำให้ลูกศิษย์เดือดร้อนใจจึงเข้าไปกราบเรียน ท่านก็บอกว่า “ก็ช่างเขาเถอะ อย่าไปสนใจพวกมันเลยและท่านก็สอนศิษย์ว่า “คนฉลาดถึงมีตาดี ก็ทำเหมือนคนตาบอด ถึงหูดี ก็ทำเหมือนคนหูหนวก ถึงมีปัญญาก็ทำเหมือนคนใบ้ ถึงมีกำลังก็ทำเหมือนคนไม่มีกำลัง เมื่อมีความจำเป็นขึ้นมา ถึงจะนอนอยู่ในเวลาใกล้ตาย ก็ยังทำประโยชน์ใหญ่ได้ ภายหลังเมื่อพวกนั้นก่อเรื่องราวมากเข้า ถือค้อนถือมีดหวังเข้ามาทำร้ายท่าน ท่านอดไม่ได้เลยพูดว่า “มีอะไร เฮ้ย!! เดี๋ยวแผ่นดินจะสูบนะ” ท่านพูดสั้น ๆ เพียงเท่านั้น พวกมันเห็นอำนาจอะไรของท่านก็ไม่ทราบ พากันวิ่ง ๆ ๆ ๆ แตกหนี ราวกะผึ้งแตกรังกระเจิดกระเจิง ทิ้งค้อน ทิ้งมีด ทิ้งขวาน วิ่งหนีเตลิดเปิดเปิง แบบไม่คิดชีวิต นี่คืออำนาจจิตของท่าน เป็นเรื่องสุดวิสัยที่เรา ๆ ท่านๆ จะอาจสามารถรู้ได้
               อำนาจจิตของหลวงปู่ศรี
               เมื่อกล่าวถึงอำนาจจิตของท่าน มีพระอดีตผู้ใหญ่บ้านที่สละบ้านเรือนออกบวชติดตามหลวงปู่ศรี ได้เล่าด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ในอำนาจจิตของท่านไว้ว่าตอนที่ผมยังไม่ได้บวชและยังไม่ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ผมเข้ามาวัดป่ากุงใหม่ๆ ท่านเทศนาว่า “เรามาประพฤติปฏิบัติ ให้ตั้งอกตั้งใจ
               ผมก็พูดสวนท่านว่า “หมามันเห่าทางบ้าน ผมห่วงว่า จะมีโจรขโมยควายท่านจึงบอกว่า “จะเอาของดีให้ ทำไมมาพูดแย้ง ไม่ใช่วิธีนะ
               ผมก็ยังพูดแย้งขึ้นอีกว่า “ผู้ใหญ่บ้านเขาเปิดบ่อนการพนัน คนเล่นคนกินคนเที่ยวมันเยอะ ไม่รู้ว่าควายที่บ้านเป็นยังไง หมาตัวอยู่บ้านมันเห่าท่านเลยด่าเอาว่า “มาประพฤติปฏิบัติในศีลธรรมจะไปกลัวทำไมกับของแบบนั้น ถ้าหากเราประพฤติดีแล้ว ไม่มีใครมาทำอะไรเราได้หรอก ปืนก็ยิงไม่ออก ไฟไม่ไหม้ ตกน้ำไม่ตาย ไม่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าไม่ตรัสไว้หรอก สวากขาตธรรม คนไหนประพฤติธรรม คนนั้นไม่มีอันตราย
               ผมฟังท่านแล้วผมไม่เชื่อ ผมไม่เคยเห็นว่าธรรมจะรักษาวัวควายที่บ้านผมได้ ผมก็เลยขอลาท่านกลับไปบ้าน แยกไปคนเดียว สัญญากับเพื่อนไว้หากมีเรื่องจะฉายไฟเรียก กลับไปถึงบ้านเห็นคอกควายโดนขโมยเปิดไว้หมด แต่ควายไม่ออกจากคอก ปรากฏว่า พวกขโมย มันเอาสนตะพายควายตัวผู้ ดึงควายตัวผู้ออกหนีจากหมู่พวก แต่มันไม่ยอมไป ควาย ๗ ตัวไม่ออกจากคอกซักตัว พ่อก็แก่ แม่ก็เฒ่า นัยตาก็ฝ้าฟาง มีเพียงหลานกำพร้าลูกของน้องสาว ผมจึงถามพ่อว่า “พ่อนอนต่างไหม?” (หมายถึงนอนแล้วรู้สึกมีอะไรแปลก ๆ หรือผิดปกติ หรือเปล่า )
 
               พ่อบอกว่า “ลูกเอ้ย! ควายมันหลุดวิ่งไล่ขวิดกันอยู่ ไปผูกหน่อย  ผมก็โมโห บอกพ่อว่า “เขาจะขโมยควายเรา แต่ควายเราไม่ไป” ผมเลยฉายไฟเรียกเพื่อน เพื่อน ๑๒ คนจึงมาดูด้วยกัน ต่างคนก็ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน อัศจรรย์จริงอย่างท่านหลวงปู่ศรีฯ ว่า “ผู้ใดประพฤติธรรม ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมผมหัวเข่าทรุดลงกับพื้นดินตรงปากคอกควายหันหน้าไปทางพ่อแม่ครูอาจารย์ (ศรี) กราบขอเป็นลูกศิษย์ท่าน นี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นกับผมจริง ๆ หลังจากนั้นมาผมได้มากราบฟังธรรมท่านเสมอ และมีเรื่องอัศจรรย์ในคุณธรรมของท่านเสมอ จึงเกิดศรัทธาแก่กล้าสละบ้านเรือนออกมาบวชประพฤติศีลธรรม
               ภูมิเจ้าที่วัดป่ากุง
               หลวงปู่เล่าถึงภูมิเจ้าที่วัดป่ากุงตนหนึ่ง หลวงปู่เรียกว่า “อีสิ้นเหี่ยน” แปลงร่างได้ ๒ รูปแบบ ๑. เป็นงูใหญ่หางด้วน ตัวเท่าลำต้นตาล ๒. เป็นผู้หญิงแต่งชุดเปลือกไม้ปกปิดกาย อีกตนหนึ่งเรียกว่า “บักดำใหญ่หรือบักคอลาย” ท่านทรมานสมัยอยู่ที่ วัดป่าหนองใต้ จนยอมตัว ขออยู่รับใช้ติดตามมาอยู่วัดป่ากุงกับหลวงปู่มาเฝ้าวัดเฝ้าสระใหญ่ ใครไปจับต้อง ลักเล็กขโมยน้อยในวัด เอาของโดยไม่บอกกล่าวก่อน ต้องมีอันเจ็บไข้ได้ป่วยมีอันเป็นไปต่าง ๆ ถ้าอยากจะหายก็ต้องแต่งขันธ์ ๕ ขันธ์ ๘ มาขอขมาหลวงปู่ จึงหายจากอาการที่เป็น หลวงปู่บอกว่าด้วยอานิสงส์แห่งการรับใช้พระ ภูมิเจ้าที่ทั้งสองได้ไปเกิดในภพภูมิที่สูงแล้ว
               ต่อมาท่านก็เป็นผู้นำชาวบ้าน ปลูกป่าไม่ว่าจะเป็นส้ม มะนาว กล้วย กอไผ่ ฯลฯ ปลูกในบริเวณวัด ท่านปลูกกล้วยล้อมโบสถ์ ไม่ให้ใครแตะต้อง พอพวกโจรขโมยผ่านมาเห็นกล้วยสุกคาเครือน่ากิน ก็ชวนกันเข้าไปขโมย ไปกัน ๔ คน เอากระสอบข้าวสารไปใส่ ตัดใส่ถุงละเครือ หามกระสอบกล้วยเดินวกวนไปมาอยู่ในบริเวณวัด หาทางออกไม่ได้จนกระทั่งสว่าง นั่งเหนื่อยล้าอ่อนเพลียทอดอาลัยอยู่ที่ใต้ร่มไม้
               พอตอนเช้าท่านออกไปบิณฑบาต จึงบอกพระเณรว่า “ไปเรียกพวกขโมยบ้าหามกระสอบกล้วยเดินรอบวัดทั้งคืนมานี่ซิ” เมื่อถามพวกขโมยนั้นมาท่านก็ถามว่า “เป็นไงบ้างเหนื่อยไหม? ถ้าอยากกินทำไมไม่ขอคราวหลังก็ขอสิ เอ้า เอาไปกินซะเมื่อท่านอนุญาตให้ เขาก็กราบท่าน แล้วกราบเรียนท่านด้วยความตื่นเต้นตื่นกลัวว่า “เข็ดแล้วครับท่านอาจารย์ เข็ดไปจนวันตาย วัดนี้ผีเยอะเหลือเกิน พวกผมจะเดินหนีไปทางไหนก็มีผีขัดขวาง ไม่เจอผีก็เจอป่าทึบ หาทางมุดออกไม่ได้ เดี๋ยวก็เจอเสือ เดี๋ยวก็เจองูใหญ่ วิ่งหนีตายกันแทบทั้งคืน แทบจะเอาชีวิตไม่รอด เสื้อผ้าขาดวิ่นหมด” 
               “ทีหลังอย่าพากันไปหาลักขโมย มันเป็นบาป อยากได้อะไรก็ขอเอาตรง ๆ” หลวงปู่ศรีท่านกล่าวสอน
                อีกอันหนึ่ง ก็เป็นเรึ่องแปลกประหลาดเช่นกัน คือมีคนหนึ่งมารับจ้างขุดสระน้ำที่บ้านโสกแดง ห่างจากวัดป่ากุงนี่ไปก็ประมาณ ๔-๕ กม. เลยบ้านก่อไป แกเอาแทรกเตอร์ขุดตรงนั้น แทรกเตอร์ดับไม่ติดเลย ทำยังไงก็ไม่ติด มีคนแนะนำแกว่า ให้แต่งเครื่องเซ่นสังเวยผีปู่ตาสิ เดี๋ยวรถก็จะสตาร์ทติด แกทำพิธีอย่างที่แนะนำ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ มีอีกคนบอกว่า ลองไปขอน้ำมนต์จากหลวงปู่ศรี วัดป่ากุงสิ แกจึงมากราบหลวงปู่เล่าความเป็นไปให้ท่านฟัง ท่านจึงทำน้ำมนต์ให้ แกก็เอาไปรดพรมรถแทรกเตอร์ พรมน้ำมนต์เสร็จ รถสตาร์ทติดทันทีเลย แกก็ก้มลงกราบหลวงปู่ตรงนั้นเลย พอเสร็จงานก็เลยมาหาหลวงปู่ บอกหลวงปู่ว่า ผมอัศจรรย์ในบุญบารมีครูบาอาจารย์จริง ๆ ตั้งแต่นั้นมาทางวัดป่ากุงมีกิจการงานอะไรเกี่ยวกับเรื่องขุดสระ แกมาทำถวายหมด นี้เป็นเพียงเกร็ดเล็กน้อยในอีกหลายเรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่าง ให้รู้ถึงอำนาจจิตและบุญญาภินิหารของหลวงปู่ศรี มหาวีโร
               พระอรหันต์แสดงธรรมให้ฟังที่เขาผาน้ำย้อย
               ในฤดูแล้งอากาศร้อนอบอ้าวของทุกปี ท่านมักจะนำคณะศิษย์ออกเที่ยววิเวกเจริญสมณธรรมตามป่าตามภูเขาลึก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ “ภูเขาเขียว” หรือ “เขาผาน้ำย้อย” หรือ อีกชื่อหนึ่งว่า “ดงมะอี่” มีพื้นที่ ติดต่อ ๓ จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ มุกดาหารและร้อยเอ็ด สถานที่แห่งนี้ถูก อัธยาศัยท่านเป็นพิเศษตั้งแต่ท่านอุปสมบทใหม่ๆ จนกระทั่งเข้าสู่วัยชรา เมื่อมีโอกาสท่านจะออกมาเที่ยวเจริญสมณธรรมบริเวณเขาเทือกนี้เสมอ ท่านเล่าว่าการมาเจริญสมณธรรม ตามสมณวิสัย ที่เทือกเขาผาน้ำย้อย มักได้อุบายแปลกประหลาดและอัศจรรย์เสมอ ตั้งแต่คราวยังหนุ่ม ร่างกายท่านยังแข็งแรง ท่านมักมาเที่ยววิเวกเพียงองค์เดียวอยู่ในป่าลึกๆ สนุกในการเจริญวิปัสสนา การพิจารณาธรรมต่างๆ คล่องตัวไม่เป็นที่ติดขัด อากาศก็เบาสบาย สัตว์เสือช้างก็ยังมีให้เห็นดาษดื่นอยู่ สงัดกายสงัดจิตจากอุปธิสรรพกิเลสที่มาก่อกวนรุมเร้าจิตใจ บางครั้งบางคืนปรากฏว่า มีพระสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ท่านฟัง ตามอริยประเพณี โดยปรากฏทางสมาธินิมิต ใจความย่อสรุปได้ว่าสมณะไปที่ใด อยู่ที่ใด ไม่ควรติดข้องอยู่กับกาลสถานที่ เวล่ำเวลา ควรตั้งจิตบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นทุกลมหายใจเข้าออก ชีวิตที่กำลังก้าวผ่านไปในปัจจุบัน คือความไม่แน่นอน ที่ผลกรรมปรุงจิตแต่งขึ้นตั้งแต่อดีต ถ้าหากกรรมในปัจจุบันไม่แน่นอน ก็จะส่งผลร้ายในอนาคต การมีชีวิตอยู่กับการตายไม่มีความต่างกันในทางธรรม เพราะเป็นหลักธรรมดาที่มนุษย์ และสัตว์โลกต้องพานพบเป็นประจำนิสัย การบำเพ็ญเพียรทางจิตเพื่อความหลุดพ้นในวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ต่างหาก เป็นกิจที่สมณะพึงกระทำบำเพ็ญให้เกิดขึ้น สมณะที่มีความมุ่งหวังว่าจะสิ้นกิเลสได้ในวันนี้หรือพรุ่งนี้เป็นสมณะที่ไม่นิ่งนอนใจ ต้องเป็นผู้มีความเพียรแผดเผากิเลสแก่กล้า สมณะเช่นนี้แล เป็นสมณะสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ”
               เมื่อสาวกอรหันต์มาแสดงธรรมให้ท่านฟังแล้ว ก็อันตรธานจากไป ท่านก็น้อมเอาธรรมนั้นมาพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองให้เกิดสติปัญญา ท่านเล่าว่า เพลิดเพลินดื่มด่ำในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนท่องเที่ยวอยู่ในแดนอมตมหานฤพานข้ามความโศกเศร้าร้าวราน ลืมวันลืมคืน จิตใจ จดจ่ออยู่กับการพิจารณาธรรมทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง จิตออกรู้เห็นทั้งแดนนรก แดนสวรรค์ พรหมโลก ออกรู้เห็นความระทมทุกข์ของสัตว์โลก เห็นความบันเทิงสุขของเหล่าเทพในสรวงสวรรค์ เห็นความยาวนานของชีวิตในพรหมโลก เมื่อย้อนจิตกลับเข้า มาข้างในพิจารณาธาตุขันธ์ที่ถูกกรรมปั้นแต่งขึ้นมาเหมือนดินที่ถูกช่างปั้น ปั้นเป็นรูป สัตว์บุคคลต่าง ๆ ที่ถึงเวลาก็แตกสลาย แล้วก็ปั้นขึ้นมาใหม่โดยอาศัยดินเดิม เปลี่ยนรูปลักษณะไปต่าง ๆ นานา จนช่างปั้นคือจิต ไม่อาจจำผลงานคือภพชาติที่หมักหมมมานานแสนนานได้บางครั้งถึงกับน้ำตาร่วงเมื่อพิจารณาถึงชีวิตธาตุขันธ์และภพชาติที่เวียนว่ายตายเกิดผ่านมามีแต่เรื่องแบกกองทุกข์นานัปการ หาประมาณและหาที่ยุติแทบไม่ได้ ทำให้เกิดสลดสังเวชสุดประมาณ เห็นทุกข์และเห็นโทษของทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์คือกิเลสตัณหา เห็นทางดับทุกข์คือมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ เมื่อจิตพิจารณายับยั้งอยู่เป็นเวลานานจึงถอนออกจากสมาธิ ท่านเล่าว่า พระอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟังนั้น มีทั้งพระสาวกอรทันต์ในสมัยพุทธกาลและพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบันที่นิพพานในเมืองไทย เมื่อพระอรหันต์จะนิพพานท่านก็แสดงนิมิตให้เห็นว่า เป็นผู้หมดความกังวลห่วงใย เมื่อถึงเวลาธาตุขันธ์ท่านจะแตกสลายตายลงไป ท่านก็ไม่มีความสะทกสะท้านหวั่นไหว เป็นผู้มีความคงที่สมบูรณ์ด้วยจิตวิมุตติ เหนือโลกสมมุติทั้งหลาย
               เพลิดเพลินดื่มด่ำในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนท่องเที่ยวอยู่ในแดนอมตมหานฤพานข้ามความโศกเศร้าร้าวราน ลืมวันลืมคืน จิตใจจดจ่ออยู่กับการพิจารณาธรรมทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง จิตออกรู้เห็นทั้งแดนนรก แดนสวรรค์ พรหมโลก ออกรู้เห็นความระทมทุกข์ของสัตว์โลก เห็นความบันเทิงสุขของเหล่าเทพในสรวงสวรรค์ เห็นความยาวนานของชีวิตในพรหมโลก เมื่อย้อนจิตกลับเข้ามาข้างในพิจารณาธาตุขันธ์ที่ถูกกรรมปั้นแต่งขึ้นมาเหมือนดินที่ถูกช่างปั้น ปั้นเป็นรูปสัตว์บุคคลต่าง ๆ ที่ถึงเวลาก็แตกสลาย แล้วก็ปั้นขึ้นมาใหม่โดยอาศัยดินเดิม เปลี่ยนรูปลักษณะไปต่าง ๆ นานา จนช่างปั้นคือจิต ไม่อาจจำผลงานคือภพชาติที่หมักหมมมานานแสนนานได้
               บางครั้งถึงกับน้ำตาร่วงเมื่อพิจารณาถึงชีวิตธาตุขันธ์และภพชาติที่เวียนว่ายตายเกิดผ่านมามีแต่เรื่องแบกกองทุกข์นานัปการ หาประมาณและหาที่ยุติแทบไม่ได้ ทำให้เกิดสลดสังเวชสุดประมาณ เห็นทุกข์และเห็นโทษของทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์คือกิเลสตัณหา เห็นทางดับทุกข์คือมรรคมีองค์ ๘ ที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ เมื่อจิตพิจารณายับยั้งอยู่เป็นเวลานานจึงถอนออกจากสมาธิ
               ท่านเล่าว่า พระอรหันต์มาแสดงธรรมให้ฟังนั้น มีทั้งพระสาวกอรทันต์ในสมัยพุทธกาลและพระอรหันต์ในสมัยปัจจุบันที่นิพพานในเมืองไทย เมื่อพระอรหันต์จะนิพพานท่านก็แสดงนิมิตให้เห็นว่า เป็นผู้หมดความกังวลห่วงใย เมื่อถึงเวลาธาตุขันธ์ท่านจะแตกสลายตายลงไป ท่านก็ไม่มีความสะทกสะท้านหวั่นไหว เป็นผู้มีความคงที่สมบูรณ์ด้วยจิตวิมุตติ เหนือโลกสมมุติทั้งหลาย
               เทพขอฟังธรรม
               ท่านเล่าว่าทุกครั้งที่มาเจริญวิปัสสนาที่เขาผาน้ำน้อยยังมีพวกกายทิพย์ เทพ พรหมอันเป็นภพภูมิเบื้องบนมาปรากฏให้เห็นเสมอ บางท่านมาขอฟังธรรม บางท่านมาแสดงฤทธิ์ให้เห็นประจักษ์ถึงบุญญาภิสมภาร และบางท่านแสดงการจุติคือการอุบัติเกิดและวิบัติแห่งเทพยดา เป็นจุตินิมิต ให้ทราบล่วงหน้า เท่านั้นถึงคราวจะวิบัติ ย่อมมีเหตุอาเพศวิปริตเป็นนิมิตเตือนล่วงหน้า คือ ย่อมเห็นดอกไม้ทิพย์เครื่องประดับสำหรับองค์อันอยู่ในวิมานของตนเหี่ยวแห้งและไม่หอม ผ้าทิพย์ก็เศร้าหมอง ไม่รุ่งเรืองสดใส เมื่อถึงกาลวิบัติเทพที่เคยสุขรื่นเริงบันเทิงใจด้วยการเสวยทิพยสมบัติ แต่เมื่อถึงคราวจะพลัดพราก ก็หาความสุขทิพยสมบัติมิได้ อาสนะที่แท่นบรรทมอันแสนสุขก็ร้อนลุกเป็นไฟ ภายในกายของเทพนั้น ย่อมเที่ยวแห้งเศร้าหมองลง หารัศมีดังก่อนมิได้ ให้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยเนื้อตัวตีนมือ มีความกระวนกระวายใจ
               เมื่อนิมิตปรากฏเตือน เทพที่หมดบุญที่จะเสวยดังนี้แล้ว เทพยดาทั้งหลายที่รักใคร่กัน เทพนารีที่เป็นบาทบริจาริกาสุดที่รักดังดวงใจทั้งใกล้ทั้งไกล ย่อมไปมาหาสู่ตลอดทั้ง ๗ วันให้เกิดความโศกศัลย์ทุกข์โทมนัสนักหนา ต่างร้องไห้ต่อหน้าแล้วสะอึกสะอื้นด้วยคำว่า “เมื่อท่านจุติไปแล้ว ขอจงได้กลับมาเกิดในวิมานอันแสนสำราญนี้เถิด” เมื่อเทพนั้นตายจากเทวโลกไป แม้แต่เกศาสักเส้นหนึ่งก็ไม่เหลือปรากฏ หายวับไปหมดสิ้น และจักไปอุบัติบังเกิดในถิ่นใดนั้น ก็สุดแต่บุญบาปกรรมของเทพยดานั้นจักชักนำไป นี้แสดงให้เห็นถึงความไม่แน่นอนว่าแม้ในสรวงสวรรค์วิมานชั้นฟ้าที่ผู้คนปรารถนากันนักหนานั้น ก็ตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน บางครั้งภพภูมิเบื้องต่ำมีภูตผี สัตว์นรก ชั้นนิรยภูมิเปรต อสุรกาย เป็นต้น ก็มาปรากฏให้เห็น ด้วยการแสดงผลแห่งกรรมชั่วอันเผ็ดร้อนให้ปรากฏ เสวยทุกขเวทนาอันร้ายกาจ ผ่านปีเดือนอันยาวนาน เห็นแล้วทำให้เข็ดหลาบในการทำความชั่ว อยากขยันหมั่นสร้างความดี เพราะมนุษย์มัวเมาบันเทิงสุขในโลกมนุษย์เพียงเล็กน้อย เผลอใจไปหำความชั่วนิดหน่อยเมื่อกายแตกดับ กลับไปตกนรกหมกไหม้นานแสนนาน
               รับนิมนต์สร้างผาน้ำย้อย
               บันทึกประวัติวัดผาน้ำย้อย.....
               ....ในปี พุทธศักราช ๒๕๑๗ ทรัพยากรป่าไม้บนเทือกเขาเขียว กำลังถูกทำลายเป็นอย่างมาก บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย และบางกลุ่มก็เข้าไปทำลายป่า เพื่อใช้พื้นที่ปลูกพืชไร่ เดิมพื้นที่แห่งนี้มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้าอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ เป็นเหตุให้ทางราชการได้พยายามหาวิธีการปราบปรามด้วยวิธีต่าง ๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตรวมใจของประชาชนชาวไทยได้
               โดยเฉพาะแถบจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียง พระมหาเถระที่ทรงคุณธรรมเป็นที่ประจักษ์แจ้งในหมู่คนดีและคนชั่ว คือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านท่องเที่ยวเดินป่าเหยียบผาเขาแถบนี้ แทบที่จะเรียกได้ว่าหลับตาเดินไปได้ก็ไม่น่าจะผิด ท่านท่องเที่ยวภาวนาตามป่าเขาเทือกนี้เหนือจรดใต้ ตะวันตกจรดตะวันออก ด้วยเหตุนี้ น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดสมัยนั้น จึงได้ไปกราบนิมนต์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เพื่อขอให้ท่านได้พิจารณาตั้งวัดเป็นถาวรขึ้นบริเวณเขาผาน้ำย้อย เพื่อจะได้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน หลวงปู่ศรี มหาวีโร เมื่อท่านพิจารณาถึงเหตุผลต่าง ๆ แล้วเห็นว่า สมควรเป็นอย่างยิ่งที่สถานที่อันเป็นมหามงคลสำหรับชีวิตรอนแรมธุดงค์ของท่านแห่งนี้ จะได้จัดตั้งเป็นวัดโดยถาวร ท่านจึงจัดสร้างวัดบริเวณเชิงเขาก่อนชื่อว่า “วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม(ผาน้ำย้อย) ตั้งอยู่บ้านโคกกลาง ต.โคกสว่าง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ถนนสายหนองพอก- เลิงนกทา ห่างจากอำเภอหนองพอก ๑๓ ก.ม.
               ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา ๕ รูป โดยมีหลวงปู่บุญศรี ญาณธมฺโม เป็นหัวหน้า เริ่มแรกเนื้อที่ของวัดมีประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่ (ภายหลังเพิ่มเป็น ๑๓๐,๐๐๐ ไร่) ได้ปลูกต้นไม้ขึ้นเสริมอีกบนยอดเขา ๓๐๐,๐๐๐ ต้น
               สมัยนั้นการขึ้นลงต้องไต่ไปตามซอกหิน ไม่มีบันได ป่าไม้อุดมสมบูรณ์มาก การเดินจากตีนเขาถึงผาน้ำย้อยใช้เวลาประมาณ ๓๐ - ๔๐ นาที การบิณฑบาต จะไปที่บ้านโคกกลาง ระยะทางไปกลับประมาณ ๖ กิโลเมตร
               หลวงปู่ศรี ท่านชอบมาพักอยู่ตามถ้ำบริเวณผาน้ำน้อยนี้ พระเณรก็พักอยู่ตามบริเวณเทือกผาตลอดแนวเขา อาศัยซอกหินเงื้อมหินเป็นที่พักภาวนา
               ในคราวนั้นท่านป่วยเป็นไข้มาเลเรียอย่างหนัก ท่านไม่ยอมทานยาหรือไปหาหมอ อาหารท่านก็ไม่ฉัน ใช้ธรรมโอสถรักษา คณะศิษย์ทั้งหลายต้องพยายามอ้อนวอนท่านไปรักษา เนื่องจากชราภาพอายุมากแล้ว ท่านยึกยื้ออยู่นาน ทนต่อการวิงวอนของคณะศิษย์ไม่ได้ ถึงจะยอมไป แม้อายุย่างเข้าสู่วัยชราแต่ความเพียรความเด็ดเดี่ยวไม่เคยย่อหย่อนลงเลย และท่านก็สอนพระเป็นธรรมกถาเตือนใจเสมอว่า
               การที่คนเราจะมีบุญวาสนาได้นั้น ต้องเป็นผู้ลงมือทำดีเอง การที่เราจะหมดบุญวาสนานั้น เพราะลงมือทำชั่วเอง ความมีบุญวาสนาหรือความไม่มีบุญวาสนา ใครทำให้ใครไม่ได้ เหมือนดอกและผลของต้นไม้ ย่อมเจริญเพราะอาศัยดินดี บุญกุศลคุณงามความดี ย่อมเจริญงอกงามได้ก็เพราะคบหาคนดีและสร้างความดี ฉะนั้น ป่าเปลี่ยวเป็นที่ไปของฝูงเนื้อ กลางหาวเป็นที่ไปของฝูงนก การสิ้นความกำหนัดเป็นเป้าหมายของธรรมะ พระนิพพานเป็นที่ไปของพระอรหันต์
               ท่านเป็นแบบอย่างแก่สานุศิษย์ไม่เคยท้อ ไม่เคยหวั่นในการสร้างความดีและคุณประโยชน์ทุกประเภท แม้พระพุทธรูปหินทรายมีน้ำหนักหลายตัน ที่มีศรัทธาสร้างถวาย ท่านเองนำพาญาติโยมจำนวนมากช่วยกันชักลากจากบริเวณเชิงเขา ขึ้นไปประดิษฐานบนหน้าผาน้ำน้อยอันสูงชันได้อย่างน่าอัศจรรย์
ในสมัยนั้นการก่อสร้างเสนาสนะต่าง ๆ มีศาลาเป็นต้น เป็นไปด้วยความยากลำบาก น้ำก็แห้งแล้ง ท่านสร้างสระน้ำใหญ่ ศาลานั้นใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ ๑ ปี โดยท่านเน้นหนักเรื่องหลังกว้างใหญ่ เพื่อรองรับน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ แม้นว่าท่านจะไม่เคยอยู่จำพรรษา ณ สำนักแห่งนี้ แต่ท่านก็ให้ความสำคัญสำนักแห่งนี้ไม่ด้อยไปกว่าสำนักใหญ่วัดป่ากุง
               สถานที่สำคัญมีดังนี้คือ
               ๑. ผาน้ำย้อย ซึ่งมีน้ำไหลหยดย้อยตลอดปี
               ๒. พระประธานที่ศาลาใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๐๑ นิ้ว
               ๓. ถ้ำผาน้ำย้อย
               ๔. น้ำตกเช่น คำช้างจก คำจ๊าก คำยู้ส้าว
               ๕. หน้าผาบนผาน้ำย้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล
               ถูกวางระเบิด/วาจาศักดิ์สิทธิ์
               การสอนประชาชนญาติโยม ท่านเน้นหนักเรื่องศีล ๕ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะประเพณีทางภาคอีสานเมื่อมีงานเทศกาลสำคัญ มักดื่มของมึนเมาเข้ามาในวัดโดยไม่เกรงกลัวต่อบาป ในกรณีนี้ท่านจะห้ามเป็นพิเศษ ท่านบอกว่าวัดนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ควรดื่มเหล้าเมายาเข้ามาในวัด เล่ากันว่า ...มีชายคนหนึ่งไม่เชื่อฟัง ดื่มเหล้าเข้ามา แล้วก็พูดจาท้าทายท่านและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏว่าวันนั้นอากาศแห้งแล้งแดดร้อนเปรี้ยง ๆ ไม่มีเค้าฟ้าเมฆฝน ฟ้าได้ผ่าเปรี้ยง เปรี้ยง เปรี้ยง! ลงมากลางกระหม่อมของเขา เขาล้มพับดิ้นตายลงไปต่อหน้าคนทั้งหลาย ตั้งแต่นั้นมาไม่มีใครกล้าดึ่มเหล้าเข้าไปในผาน้ำย้อยอันศักดิ์สิทธิ์นั้นอีกเลย
               ปี พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๘ ท่านได้เป็นประธานอำนวยการจัดสถานที่รับรองการประชุมพระสังฆาธิการ ภาค ๘-๙-๑๐ (ธรรมยุต) และท่านได้เริ่มโครงการ เทิดพระเกียรติ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ โดยร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะปลูกต้นไม้ที่เกี่ยวกับพุทธประวัติ ไม้เกี่ยวกับวรรณคดีไทยและไม้สมุนไพร ปลูกบนหลังเขาเขียว (ผาน้ำย้อย) รวมเป็น ๙๐๐ ไร่ เป็นที่ทราบกันดีว่า เมื่อมีคนดีก็ต้องมีคนร้าย เมื่อเป็นพระก็ต้องมีมารผจญ วันนั้นอากาศร้อนอบอ้าว ใบไม้ไร้สายลมโบกสะบัด ต่อมาอีกไม่นานนัก สายฝนก็ค่อยโปรยลงมา และโปรยลงมาอย่างหนักแทบลืมหูลืมตาไม่ขึ้น พวกพระเณร แม่ชีตลอดจนชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่มาร่วมกันปลูกป่า ต่างวิ่งเข้าหาที่พักกำบังกันพัลวัน ในเย็นวันนั้นหลวงปู่ศรี ท่านสั่งกำชับทุกคนว่า “ให้ภาวนา อย่าพากันนอน
               พระรูปหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ เห็นท่านสั่งกำชับเชิงเป็นห่วงเป็นใยมากกว่าวันก่อนๆ เกิดลางสังหรณ์ว่า “จะเกิดอันตราย” กราบเรียนท่านว่า “เกรงว่าจะเกิดอันตราย ขอให้ท่านเรียกตำรวจมาอารักขาด้วย เพราะว่าเรามาปลูกป่าขัดผลประโยชน์กับพวกทำลายป่า และคนพวกนี้เดิมก็เป็นคอมมิวนิสต์ มีจิตใจโหดร้ายและมีอาวุธสงคราม
               ท่านก็ตอบว่า “ฮึ้อ..มันไม่เป็นอะไรหรอก” แล้วท่านก็เดินทางกลับวัดป่ากุง คืนนั้นเวลาสามทุ่ม ก็เกิดระเบิดขึ้น เสียงดังตูม ! ตูม ! เสียงดังลั่นสนั่นป่า ทุกคนต่างตกใจ จอบเสียม เครื่องใช้ไม้สอย ต้นไม้ทะลุไปหมด หลังคาที่พักปรุพรุนไปทั่ว แต่ไม่มีใครเป็นอะไรเลย เหมือนที่ท่านบอกไว้ไม่มีผิด “ไม่เป็นอะไรหรอก
               พวกเจ้าหน้าที่ที่ไปถามท่านว่า “หลวงปู่ จะให้จับไหม
               ท่านบอกว่า “ไม่ต้องไปจับเขาหรอก กรรมใครกรรมมัน
               เขาเรียนถามท่านว่า “จะทำยังไงดี เขาจะมาระเบิดเรา
               ท่านบอกว่า “เอ้า ! เขาอยากระเบิดก็ปล่อยให้เขาระเบิดไปซี ถ้ามันจะระเบิดมันก็ระเบิดเอง แต่ถ้ามันจะไม่ระเบิดมันก็ไม่ระเบิดเอง เป็นเรื่องของมัน ตอนที่มันระเบิดก็มี ตอนที่มันด้านก็มี จะไปกลัวตายทำไม ไม่ถึงคราวตายมันไม่ตายหรอกคนเรา ไม่ถึงคราวแตก มันก็ไม่แตกเหมือนกันระเบิด” พวกเจ้าหน้าที่ฟังแล้วก็หัวเราะกันใหญ่
               เรื่องราวตอนที่มีคนไปขว้างระเบิดที่ผาน้ำย้อย ท่านเมตตาเล่าให้พระใกล้ชิดฟังตอนหลังว่า “จริง ๆ แล้วจะทำไม่ให้มันระเบิดก็ได้ แต่ถ้าทำไม่ให้มันระเบิด เขาจะหาว่าระเบิดด้าน เดี๋ยวเขาจะเอามาเขวี้ยงใหม่ ก็เลยปล่อยให้มันระเบิด” นี้เป็นความอัศจรรย์อย่างยิ่งสำหรับญาติโยมหรือพระเณรที่อยู่ในเหตุการณ์ ทุกคนต่างชื่นชมยกมือสาธุในบุญบารมีของท่านที่คุ้มครอง
               ในเรื่องวาจาสิทธิ์นี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์ วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพฯ ท่านมักกล่าวยกย่องหลวงปู่ศรี ว่า “ศรีปากเข็ด” คือมีวาจาสิทธิ์ พูดอะไร ทำอะไร สำเร็จทุกอย่าง
               วัดพระมหาเจดีย์ชัยมงคล
               บันทึกประวัติวัดผาน้ำย้อย ได้กล่าวไว้ว่า....หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้ก่อสร้างวัดผาน้ำย้อยสำเร็จตามความมุ่งหมายทุกประการ เป็นประโยชน์ใหญ่แก่คณะสงฆ์ทางภาคอีสาน ทั้งฝ่ายปริยัติและฝ่ายปฏิบัติ
               ...เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีิฉลู ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นวันรวมกฐินสามัคคีที่วัดป่ากุง พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (ศรี มหาวีโร) ได้ปรารภกับที่ประชุมคณะศิษยานุศิษย์ว่า
               ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกาเป็นกรณีพิเศษ และมาพิจารณาเห็นว่า ครูบาอาจารย์สายอีสาน ผู้มีความรู้ระดับนักปราชญ์และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติ ได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นจำนวนมาก สมควรสร้างถาวรวัตถุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฏฐิธาตุ รูปเหมือนของครูบาอาจารย์เหล่านั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางแก่ผู้มาศึกษาและสักการบูชา และเห็นว่าควรสร้างที่วัดผาน้ำย้อย
               หลวงปู่ศรีท่านได้ปรารภการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคลไว้อีกตอนหนึ่งว่า...การสร้างเจดีย์ที่ผาน้ำย้อย ประชุมร่วมกันว่า จะมีการก่อสร้างเจดีย์ขึ้น ก็เนื่องจากหมู่คณะทั้งหมดในภาคอีสาน ๔ ภาค เจ้าคณะภาค รองเจ้าคณะภาค และเจ้าอาวาสทุกวัดจะได้ไม่ไปใช้แห่งอื่น ซึ่งมีความเห็นพร้อมให้เอาวัดผาน้ำย้อยเป็นศูนย์กลางใึนภาคอีสานพระธาตุพนมนั้นก็อยู่ใกล้เข้าไปทางฝั่งลาวนู้น ก็เลยมาเห็นดีที่ผาน้ำย้อย แต่แรกก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของหมู่คณะสงฆ์ใ้นภาคอีสาน คนเขาคงไม่เข้าใจกัน คงนึกว่าทางวัดสร้างเอง แต่เรานั้นสร้างในนามของหมู่คณะนะ ไม่ทำเฉพาะวัดเราวัดเดียว ทำแล้วมันก็เป็นส่วนรวม โดยเฉพาะในด้านพระพุทธศาสนาก็ทั่วกันไปหมด ใครได้สร้างประโยชน์ส่วนใหญ่ส่วนรวม จะเป็นบันไดหรือหนทางนำไปสู่ความสุขความเจริญ ผลของการกระทำทั้งหลายนี้ มันจะกลับมาสู่ตัวเราทั้งนั้น ไม่ได้หนีไปทางอื่น ทำให้คนอื่นจริงอยู่ แต่มันจะกลับมาหาเรา การกระทำทุกอย่างก็เป็นผลประโยชน์แก่ตัวของเราเองนั่นแหละ ท่านไปอยู่ให้เกิดบุญกุศลเฉย ๆ ฉะนั้นการกระทำเหล่านั้นจะเป็นบันไดที่จะเดินไปสู่ความสุขชั้นสูง
               ในวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ท่านได้ประชุมคณะกรรมการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานฝ่ายบรรพชิตและพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการก่อสร้างเจดีย์
               ศิลปะร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน
               พระมหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ความกว้าง-ความยาว ๑๐๑ เมตร ความสูง ๑๐๙ เมตร สร้างอยู่บนเขาเขียว มีเนื้อที่ ๑๐๑ ไร่ แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติที่สวยงาม บนหลังเขามีสภาพเป็นป่าดงดิบ เต็มไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์ รอบภูเขามีลักษณะเป็นหน้าผาสูงชันคล้ายกำแพงธรรมชาติโอบล้อมไว้ จึงเสริมให้องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลสูงโดดเด่นสวยสง่างาม สามารถมองเห็นได้แต่ไกลหลายกิโลเมตร สร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็นสักการะ เกิดความซาบซึ้ง ทึ่งในความสวยงามยิ่งนัก
               องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล เป็นศิลปะร่วมสมัยระหว่างภาคกลางและภาคอีสาน เป็นศิลปะกลมกลืนระหว่างพระมหาปฐมเจดีย์และพระธาตุพนม เป็นแนวศิลปะกลมกลืน ยืนบนลวดลายสีสันหลากหลายสวยงามตามแบบสมัยใหม่ครบถ้วน องค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นเจดีย์องค์ใหญ่สูงตระหง่านภูมิฐาน รายล้อมด้วยเจดีย์บริวารทั้ง ๘ ทิศ เรียงรายด้วยวิหารคตรอบองค์พระมหาเจดีย์ไว้อีกชั้นหนึ่ง ความยาว ๓,๕๐๐ เมตร คลุมพื้นที่ ๑๐๑ ไร่ รูปทรงพระมหาเจดีย์ชัยมงคลเป็นรูป ๘ เหลี่ยมใหญ่โตมากแบ่งเป็น ๗ ชั้นตามลำดับ เพื่อจุดมุ่งหมายต่างๆ ดังนี้
               ชั้นที่ ๑ เป็นห้องโถง กว้างใหญ่ โอ่อ่า สำหรับการประชุมต่าง ๆ รอบฝาผนังด้านใน จารึกนามผู้บริจาคสมทบทุนก่อสร้าง เสา กรอบมุมประตู หน้าต่าง เพดานวิจิตรด้วยลวดลายหลากสีสวยงาม
               ชั้นที่ ๒ จัดเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่สำหรับประชุมปฏิบัติธรรมพระสังฆาธิการ หรือการสัมมนาทั่วไป ฝาผนังทุกด้านติดตั้งรูปพุทธประวัติ ทศชาติศิลปวิจิตรกรรม ออกแบบลวดลายไทยทรงอีสาน กรอบขอบริม คาน เพดาน ดาดฟ้า เต็มไปด้วยความงามวิจิตรตระการตา ประดับตกแต่งด้วยสีทองทั้งทองแท้ทรงบรอนซ์ สลับสีธรรมชาติเกือบทุกสี มีสีฟ้า สีเขียว สีชมพู เหลือง กาบบัวหงายบัวคว่ำ ลายไทย รองรับโยงใยเต็มทุกซอกทุกมุม ตกแต่งอย่างงดงามทั้งสิ้น มีรูปเทวดาต่าง ๆ ชูตาลปัตรทรงดอกไม้ เรียงรายตามแนวต่ำจากเพดานตลอดแนว มองโดยรอบแล้วเหมือนอยู่ในวิมานแดนสวรรค์
               ชั้นที่ ๓ เป็นที่ประดิษฐานพระคณาจารย์ ปราชญ์อีสานในอดีต เป็นรูปเหมือน สลักด้วยหินอ่อน และหุ่นรูปเหมือนพระสุปฏิปันโนทั้งหมดให้ครบ ๑๐๑ องค์ วิจิตรกรรมทุกแง่ทุกมุม จากดาดฟ้าถึงพื้นล้วนแต่สวยงามทั้งสิ้น
               ชั้นที่ ๔ จัดไว้เป็นพิพิธภัณฑ์สถาน แสดงวัดวาอาราม ตลอดจนสถานปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานที่หลวงปู่ศรี มหาวีโร เคยบำเพ็ญมาตลอดหลายพรรษาพร้อมผลงานต่าง ๆ ของท่านโดยเฉพาะ เพื่อประกาศให้โลกรู้ซึ้งถึงบุญญาบารมีของหลวงปู่ศรี มหาวีโร บนกรอบระดับหน้าต่างใหญ่ๆ ทั้ง ๔ ด้าน จัดเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้าสี่ปรางค์ พระพุทธรูปทั้ง ๔ องค์ สูง ๕ เมตรครึ่ง
               ชั้นที่ ๕ อยู่เหนือสุดบันได ๑๑๙ ขั้น เป็นห้องโถงรูประฆังทองคำ ๘ เหลี่ยม ๘ ทิศ แต่ละมุมเหลี่ยมวางรูปลายไทยแนวตั้ง มองคล้ายด้ามกริชหรือทรงโคมไฟ ดอกบัวตูมตรงกลางเพดานเป็นศูนย์กลีบบัวคว่ำ ประดับด้วยทองคำแท้ลวดลายระยิบระยับเพื่อรองรับโคมไฟทองคำ ตรงกลางห้องเป็นเจดีย์เล็กที่มีลวดลายวิจิตรพิสดาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ องค์มิ่งมหามงคลของพระมหาเจดีย์ องค์เจดีย์เป็นรูประฆังทองหรือบัลลังก์ทอง บนฐาน (ชุกชี) ช่องลมแต่ละด้านของห้องโถง มีรูปดอกบัวตูมใหญ่มีลายไทยครอบทุกกรอบทอง ซึ่งความงดงามนี้เกินจะบรรยายเป็นอักษรศิลป์ได้ โดยเฉพาะช่วงลานผนัง ๘ ทิศ ภายในกรอบลายไทยทองคำนั้นระบายด้วยสีอ่อนๆ ทั้งสีฟ้า สีขาว เจือสีเทาจาง หากต้องด้วยแสงไฟสลัวหรือแสงแดดอ่อนๆ ตอนรุ่งอรุณ จะมองดูคล้ายท้องฟ้าโปร่งในราตรีอันมืดมิด
               เบื้องบนของโดมชั้น ๕ แบ่งเป็นชั้นที่ ๖-๗ แต่ไม่มีทางขึ้น เพราะป้องกันคนคิดผิดประทุษร้ายต่อทรัพย์สินอันล้ำค่า จึงสร้างเป็นเพียงองค์เจดีย์อันแข็งแรงปริมณฑล เพื่อเป็นฐานรองรับยอดเศวตฉัตรทองคำแท้หนัก ๔,๗๕๐ บาท หรือประมาณ ๗๒ กิโลกรัม มูลค่ากว่า ๒๓,๗๕๐,๐๐๐ บาท (มูลค่าในขณะนั้น) ด้วยบุญญาบารมีอันเหลือล้นของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ทำให้การดำเนินงานทุกอย่างสำเร็จไปด้วยดี โดยมีโยมอุปถัมภ์ คือ คุณยายจินตนา ไชยกุล คุณวาสนา ธารวานิช คุณชัช ธารวานิช และคุณวรยุกต์ เจียรพันธุ์ เป็นกำลังศรัทธาใหญ่ พร้อมทั้งศรัทธาชาวพุทธทุกหมู่เหล่า
               ทุนการก่อสร้างทั้งหมดจะให้เสร็จสมบูรณ์จริงคงต้องใช้งบประมาณ ๒,๐๐๐ ,๐๐๐ พันล้านบาท ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่ยังมิได้ปลูกฝังบารมีของตนไว้ ขอเชิญร่วมทำบุญได้ตลอดเวลา หากมีโอกาสขอเชิญไปสักการบูชาพุทธปูชนียสถานแห่งใหม่ พระมหาเจดีย์ชัยมงคลที่วัดผาน้ำทิพย์ (ผาน้ำย้อย) ด้วยตัวเอง
               โดยสรุปแล้ว พระมหาเจดีย์ชัยมงคลแห่งนี้จะเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจ สร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาของประชาชนทุกหมู่เหล่า เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมสมถวิปัสสนากรรมฐาน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับชาติ เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนา ธำรงวัฒนธรรมอันดีงาม รวมทั้งเป็นแหล่งอนุรักษ์ ทรัพยากรสัตว์ ป่าไม้ และสิ่งแวดล้อมของธรรมชาติ เพื่อสาธุชนรุ่นหลังได้ภาคภูมิใจในมรดกอันล้ำค่ายิ่งนี้ตราบชั่วนิรันดร์
พรรษาที่ 43
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบนหลังเขา เมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย
พักผ่อนธาตุขันธ์
นับเป็นเวลา ๒๒ ปีที่ท่านสงเคราะห์โลกอย่างเต็มที่โดยออกอบรมสั่งสอนประชาชนญาติโยม ตามหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดต่าง ๆ และได้ก่อสร้างถาวรวัตถุและวัดวาอารามต่าง ๆ ไว้มากมาย ขยายวัดสาขาไปทั่วประเทศ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ท่านจึงปรารภว่า อยากจะหาที่เหมาะสมไปพักผ่อน เนื่องจากเหน็ดเหนื่อย ทรมานกายตั้งแต่ออกสงเคราะห์โลก อยากจะชำระธาตุขันธ์ที่หมักหมมด้วยการงานมาหลายปี ประกอบกับในขณะนั้นมีคณะศิษย์ที่อยู่ต่างประเทศ นิมนต์ท่านไว้หลายแห่งท่านจึงถามศิษย์ใกล้ชิดว่า จะไปที่อเมริกา หรือจะไปที่ไหนดี หาที่สงัดจากแขกคนที่เกี่ยวข้องพักผ่อนภาวนา
               เมื่อท่านปรารภอย่างนั้นคณะศิษย์จึงปรึกษากันและกราบนิมนต์ท่านไปที่ไร่ชาเมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่พักอยู่ที่ประเทศอินโดนีเซีย ญาติโยมคณะศรัทธาจากประเทศออสเตรเลียนิมนต์ท่านไปร่วมงานกฐินของรัฐบาลไทยที่วัดพุทธรังษี นครซิดนีย์ ร่วมกับพระเถระผู้ใหญ่ เช่น พระธรรมไตรโลกาจารย์ พระธรรมบัณฑิตท่านไปพักอยู่ได้ ๑ เดือน ก็สั่งลูกศิษย์ให้โทรไปที่อเมริกา เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านเคยเดินทางไปเผยแผ่ธรรมะและมีคนที่ต้องการถวายที่ดิน เมื่อติดต่อไปทางอเมริกาตอบว่า ตอนนี้หนาวมาก แต่ถ้าหลวงปู่จะไปอยู่นั่น เขาจะยกบ้านที่อเมริกาให้อยู่จำพรรษาท่านจึงว่า ไปอยู่บ้านโยมน่ะ ไม่ไปดอก อยากไปอยู่ป่า ท่านจึงบอกให้อาจารย์มานะติดต่อกลับที่อินโดนีเซีย เจ้าของไร่ชาคือคณยูริ ยันติ (Mrs. Yanti Widjajs) เมืองปุณจะ ที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อคุณยูริทราบข่าวว่าท่านจะมาพักจำพรรษาจึงตื่นเต้นดีใจเป็นอย่างยิ่ง จัดที่พักบนหลังเขา ทำทางเดินจงกรมถวายท่าน สร้างกุฏิบนต้นไม้ใหญ่ขนาดหลายคนโอบ ภายในเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ไร่ อากาศสัปปายะ ยังมีป่าอุดมสมบูรณ์ ท่านได้ปฏิบัติสมณธรรมตามสมณวิสัย เดินจงกรม นั่งสมาธิมิได้ขาด ท่านทำความเพียรเหมือนคนหนุ่ม ๆ บางวันท่านก็อดอาหาร ภาวนา แผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ บางวันมีประชาชนทั้งชาวไทยและชาวอินโดฯ มาฟังธรรมที่ท่านแสดง บางวันท่านก็รับนิมนต์ไปโปรดไปเทศน์ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่พอจะสงเคราะห์ได้ บางวันท่านได้ไปเยี่ยมศาสนสถานในที่ต่าง ๆ ฟังเขาอธิบายว่า ประเทศอินโดฯ แต่ก่อนเป็นเมืองพระพุทธศาสนา ประชาชนนับถือศาสนาพุทธร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เดี๋ยวนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เกิดสงครามศาสนา ศาสนสถานทางพระพุทธศาสนาถูกเผาทำลาย คงเหลือแต่พระเจดีย์บูโรพุทโธ ที่สร้างด้วยหินทรายขนาดใหญ่ ใช้ระเบิดทำลายก็ไม่พังไปได้หมด และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก ท่านจึงปรารภว่า ถ้ามีโอกาส จะสร้างพระเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้บ้าง เพราะเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความถาวรมั่นของพระพุทธศาสนา ใครพังทำลายไม่ได้ง่ายๆ สร้างเล็ก ๆ น้อย ๆ เดี๋ยวคนเขาก็ทำลายได้ง่าย ๆ ดูอย่างพระเจดีย์บูโรพุทโธ ยังคงงามสง่าประกาศศักดาของความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของชาวอินโดฯ เป็นประวัติศาสตร์ของโลก
ออกพรรษาแล้วขันธ์ที่เคยหมักหมมเมื่อยล้ามานานของท่านกลับกระปรี้กระเปร่าผ่องใสงดงาม ท่านจึงปรารภว่า เอาล่ะ สบายแล้วคราวนี้ จะไปไหนก็ไป หลังจากนั้นท่านและคณะศิษย์ที่ติดตามจึงเดินทางกลับประเทศไทย
 
            
            กล่าวชมพระอินโดนีเซียภาวนาดี
ท่านได้เล่าเรื่องมีพระภิกษุประเทศอินโดนีเซีย ภาวนาดีให้ฟังว่า พระอินโดรูปหนึ่งเดี๋ยวนี้แกไปอยู่เมืองเลาะซีส อินโดนีเซีย เทศน์เก่งนะ คนใจใหญ่นะ ใจใหญ่ใจกว้าง นี่เคยพูดให้ฟังหลายครั้งแล้ว คือ แต่ก่อนท่านเป็นนักค้นคว้าศาสนาคริสต์ อิสลาม เอาจริง เอาจัง แต่แล้วก็ไม่หายสงสัย มาค้นคว้าตำราพุทธ ก็เลยยินดีพุทธแต่ยังไม่ไปหาครูบาอาจารย์ ฝึกหัดนั่งสมาธิไปตามตำรา ประเทศอินโดนีเซีย มีป่าดงใหญ่ แกไปอยู่กับคนป่าโน่น เตรียมเสบียงอาหารไปอยู่ผู้เดียวในป่า ๒ - ๓ เดือน ไม่รู้จักว่าจะทำอย่างไร จะบริกรรมภาวนาอะไรอย่างไรก็ไม่รู้จัก จึงพยายามทำจิตใจให้อยู่ในจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นเอง เอาความรู้อยู่กับใจ ดูอยู่อย่างนั้นแหละ อยากกินก็กิน ไม่อยากกินก็ทำอยู่อย่างนั้นแหละ บทเวลามันจะเป็นคือ จิตใจ ไม่ได้ส่งไปตามอารมณ์ ไม่ได้คลุกคลีอยู่กับอารมณ์ทางนอก ไม่ส่งหน้าส่งหลัง มันก็เลยเป็นการตั้งสติไปในตัว อยู่กับความรู้ หนักเข้าความรู้นั้นก็ค่อยแก่กล้าขึ้นๆ จิตใจมันก็ลงสมาธิได้ สว่างโร่ทันที ใหม่ ๆ สว่างหมดทั้งป่าทั้งดง นั่งอยู่คนเดียวหลับตาเหลียวมองเห็นหมด ต้นไม้น้อยใหญ่อยู่มุมไหน จอมปลวกอยู่มุมไหนในดงนั้น อุทาน เอ้... เกิดอัศจรรย์ใจ มันเป็นอย่างไรมันถึงรู้จัก หลับตาอยู่เท่าไหร่ก็มองเห็นหมด
                วันหนึ่งว่าง ๆ ตอนกลางวันก็อยากเดินไปดูตามความรู้ที่เห็น ไปดูถูกต้องหมดอย่างที่เห็นในนิมิต เอ้... มันเป็นความจริงนี่ แกอุทานในใจกำหนดดิ่งลงไปที่เก่านั่นแหละ อีกหลายวันนะนี่ไม่ได้คิดอะไรมาก ไม่ได้คิดหน้าคิดหลัง ลงพึ๊บอย่างใหญ่เลย สว่างโร่เลย ปรากฏเป็นเหมือนท้าวมหาพรหมนั่งอยู่บนธรรมมาสน์ นั่งเทศน์ให้ฟังเลยหรือเปล่า พระพุทธเจ้าก็ไม่รู้ แกว่าไม่รู้จัก บอกว่า เอ้อ เรื่องของพระพุทธศาสนามันดีอย่างนี้แหละ หากต้องการอยากที่จะประพฤติปฏิบัติ ก็เร่งเข้ามันจะเห็นมากยิ่งกว่านี้ แกก็เอาอย่างหนัก ลาออกจากศาสนาอื่นมาถือพุทธเลย มาถือพุทธ ก็เลยเดินทางมาเมืองไทย มาบวชอยู่วัดบวรนิเวศน์ ความรู้ภายในแกมาก จิตออกรู้ข้างนอกมาก พอนั่งสมาธิพุ๊บลงไป บางครั้งขึ้นไปบนฟ้าไปไม่รู้กี่ชั้น บางครั้งก็ลงไปข้างล่างไปไม่รู้สักกี่ชั้น จิตไม่ยอมอยู่ในร่างกาย แกถามปัญหาพวกพระสมเด็จฯ บางองค์แก้ปัญหาไม่ถูกจุด จึงคลายศรัทธาไปบ้าง เกิดการถือทิฎฐิมานะว่าตัวเองเก่ง สมเด็จพระญาณสังวรฯ ก็เลยส่งมาหาเรา ก็มาอบรมในนามพระสังฆาธิการ เราจึงแนะนำให้ว่า “ความรู้ ความเห็น ทางนั้นมันดีอยู่หรอก แต่ว่ามีความรู้เหล่านี้มันไม่ได้ส่งเสริมจิตใจของเราให้สูงขึ้น หนักเข้าถ้าหากใครไม่ระวังก็เลยจะสำคัญตัวเองว่ามีอะไรต่อมิอะไร ต้องพิจารณาร่างกายเป็นหลัก ต้องอบรมกระทำให้มากในกายคตาสติ
สตินั้นต้องสังวรอยู่เสมอในตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัสสิ่งที่ถูกต้อง ใจรู้ธรรมารมณ์ อย่าปล่อยให้จิตสยบในอารมณ์ที่ชอบ ไม่เคียดแค้นในอารมณ์ที่ไม่ชอบ ตั้งสติและจิตไว้ในวงกาย พิจารณาค้นหาความจริงด้วยสติและปัญญาดับบาปอกุศลที่จะเกิดทางทวารทั้ง ๖ ดังที่กล่าวแล้ว เปรียบเหมือนเราจับสัตว์ ๖ ชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกันคือ จับงู จับจระเข้ จับนก จับสุนัขบ้าน จับสุนัขจิ้งจอก และจับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึ่งๆ แล้วจึงนำไปผูกไว้กับเสาเขื่อน สัตว์เหล่านั้นมีที่อาศัยและที่เที่ยวหากินต่างกัน ก็ยื้อแย่งฉุดดึงกัน เพื่อจะไปตามที่ตนปรารถนา งูจะเข้าจอมปลวก จระเข้จะลงน้ำ นกจะบินไปในอากาศ สุนัขจะเข้าบ้าน สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า และลิงก็จะไปป่า เมื่อสัตว์เหล่านั้นยื้อแย่งกันสุดฤทธิ์สุดเดช มีแต่ความเมื่อยล้าแล้ว พวกมันทั้งหลายหมดเรี่ยวแรงต่อสู้ ก็จะพึงยืนเจ่า นั่งเจ่า นอนเจ่า อยู่ข้างเสาเขื่อน นั้นเอง
ท่านเอย..เสาเขื่อนที่มั่นคงนั้นแหละคือกายคตาสติ ส่วนจิตที่ส่งไปตาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ และธรรมารมณ์ ก็เปรียบเหมือนสัตว์ทั้งหลาย ถ้าเราพิจารณากาย อบรมจิต กระทำให้มาก ๆ เพียรพินิจพิจารณาโดยรอบคอบ ทำโดยสม่ำเสมอ ความรู้แจ้งแทงตลอดกายนี้ก็จะปรากฏ ส่วนความรู้ความเห็นอื่น ๆ อันเป็นเรื่องของนิมิต ดูจะไม่มีความหมายอีกต่อไป เพราะเราค้นพบความจริงแล้ว
เมื่อพระอินโดฟังธรรมที่เราแนะแนวให้ เธอก็เร่งกำหนดเข้ามาตามที่เราสอน เดี๋ยวนี้ก็ไปตั้งวัดอยู่ภูเขาเมืองลาซัมอยู่ในอินโดนีเซีย สร้างอยู่บนหลังเขาทำเสียใหญ่โต อยู่คนเดียว ในกลุ่มนั้นมีแต่อิสลามหมด ตอนนั้นเราไปหา เห็นเราร้องไห้โฮขึ้นเลย ไม่รู้เป็นอย่างไรมันอยู่ไม่ได้ สั่นไปหมด แกดีใจมาก เกิดปีติขึ้นมา แต่ว่าไม่ค่อยถูกกันกับหมู่เพื่อน ความเห็นมันดิ่งหมอนี่ หมู่พระอยู่แถวนั้นไม่ค่อยถูกกัน แกพูดถามความจริงไปเลย ตกลงต้องอยู่คนเดียว ความรู้ความเห็นจำพวกนี้ มันรู้เห็นได้อยู่นะ ไม่ต้องหาครูบาอาจารย์ ถ้ามีการกระทำเต็มที่จะต้องมีส่วนได้พิเศษ
จากนั้นเลยเทศน์ไม่มีอั้น เทศน์หมดวันหมดคืนก็ได้ พวกที่เรียนนักธรรม ตรี โท เอก นี่พูดไม่ทันแกหรอก นี่ความเป็นเองมันต่างกัน ถ้าจะเอาคุณธรรมให้เกิดกับจิตใจจริง ๆอันนั้นมันเป็นที่พึ่งแก่เจ้าของที่แท้จริง ธรรมะเข้าถึงใจ ใจเข้าถึงธรรมะ นั่นแหละเป็นธรรมะของเราที่แท้จริง แต่ธรรมะที่ได้ยินจากคนนั้นคนนี้ในตำรับตำรามันเป็นธรรมะของคนอื่นท่านหรอก เรายืมมาใช้เฉยๆ ยืมมาพูดเฉยๆ ธรรมะของเราจักเกิดขึ้นแค่ไหนขนาดไหนเท่านั้นแหละ ถ้าหากเป็นธรรมะที่เกิดขึ้นกับจิตโดยเฉพาะแล้ว โอ้ย มันกว้างขวางใหญ่โตมันลืมไม่ลงหรอก เพราะใจเป็นผู้รู้เอง เห็นเอง แต่ว่าจะผิดไปจากคำสอนของพระพุทธเจ้าในตำราก็ไม่ใช่ บางอย่างมันไม่เหมือนกัน
พรรษาที่ ๔๔ - ๖๑
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๔๙ จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
สร้างกำแพงแห่งศรัทธา
ในวันที่ ๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ การก่อสร้างกำแพงล้อมรอบองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลได้เริ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อบูชาคุณหลวงปู่ศรีในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๖ ซึ่งตรงกับวันครบรอบอายุ ๘๖ ปี ให้เป็นกำแพงแห่งศรัทธาที่ศิษยานุศิษย์มีต่อองค์ท่าน ภายในกำแพงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรมของผู้แสวงบุญ เป็นสถานที่พักนอน เป็นที่เดินตากอากาศ เดินชมวิวทิวทัศน์รอบ ๆ องค์พระมหาเจดีย์ และภายในกำแพง มีห้องน้ำ-ห้องสุขา นอกจากนี้ยังใช้เป็นโรงทาน และโรงครัวในบางโอกาสที่มีกิจกรรม ตัวกำแพงมีความสูง ๕ เมตร กว้าง ๔ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐหินลูกรังผสมซีเมนต์ ยาว ๓,๕๐๐ เมตร เป็นกำแพงขนาดใหญ่มั่นคง แข็งแรง เหมือนกำแพงเมืองจีน แต่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายดังกล่าว
ทั้งนี้เพื่อเป็นกำแพงแห่งศรัทธา บูชาคุณพระคุณท่านเจ้าคุณเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร) ผู้มากล้นด้วยบุญบารมี ซึ่งเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ผู้มีความเมตตากรุณาต่อคณะศิษยานุศิษย์ และชาวพุทธทุกหมู่เหล่าโดยไม่มีประมาณ
พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ ประธานอำนวยการก่อสร้างกำแพงล้อมรอบองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้นำคณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส ได้รวมพลังสามัคคีก่อสร้างขึ้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทุก ๆ คนได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา กำลังทุนทรัพย์อย่างเติมกำลังความสามารถทำงานโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย และไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ทำงานเพื่อเป็นอาจาริยบูชา ในการนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากคณะศิษยานุศิษย์ของพระครูอดุลธรรมาจารย์ (พระอาจารย์มานะ อตุโล) วัดพุทธธรรมาราม จากเกาะฮ่องกง เป็นเงิน ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาทได้รับเงินสนับสนุนจากวัดสาขาทั่วประเทศจำนวน ๑๕๐ วัด ได้ช่วยต่อยอดเงินทำบุญกฐินสามัคคี เพื่อนำไปช่วยก่อสร้างกำแพงในปี พ.ศ. ๒๕๔๔- ๒๕๔๕ เป็นเงิน ๓,๓๐๐,๐๐๐ บาท และได้รับเงินสนับสนุนจากวัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์ เป็นเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท เงินจากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และบางส่วนจากผู้แสวงบุญที่มาสักการบูชาองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ได้นำมาช่วยก่อสร้างกำแพงอีกทางหนึ่ง
                การทำงานก่อสร้างกำแพงฯ ของทุก ๆ ปีจะลงมือทำงานหลังจากเทศกาลออกพรรษา และหมดเขตการทำบุญกฐินของวัดสาขาต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว พระภิกษุสงฆ์ อุบาสก-อุบาสิกาและประชาชนชาวพุทธทั้งหลายจากวัดสาขาต่างๆ ที่มีศรัทธาอันแรงกล้าต่างก็ได้มุ่งหน้ามายังพระมหาเจดีย์ชัยมงคล เพื่อรวมพลังสามัคคีสร้างกำแพงล้อมรอบองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคลให้เสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์ ถือได้ว่ากำแพงล้อมรอบองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
เป็นกำแพงแห่งศรัทธามหากุศล ที่คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส ตลอดจนชาวพุทธทุกหมู่เหล่า ได้รวมพลังสามัคคี ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาจาริยบูชาอย่างแท้จริง
            พระเจดีย์หินวัดป่ากุง
พระเจดีย์หินวัดป่ากุง สร้างขึ้นเพื่อถวายพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร ณ วัดประชาคมวนาราม โดยจำลองมาจากเจดีย์บูโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย พระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ พร้อมด้วยคณะสงฆ์ วัดสาขาวัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) ตลอดจนคณะศิษยานุศิษย์ ได้พร้อมใจร่วมกันสร้างพระเจดีย์หินวัดป่ากุงขึ้นมา เพื่อเป็นการบูชาคุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร โดยใช้หินทรายธรรมชาติก่อสร้างแกะสลักเรื่องราวพระพุทธเจ้าและลวดลายทั้งภายนอกและภายในของพระเจดีย์ฯ เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๗ งบประมาณในการก่อสร้าง ๑๐๐ ล้านบาท
            รายละเอียด
พระเจดีย์หินวัดป่ากุงตั้งอยู่ในบริเวณวัดประชาคมวนารามด้านทิศตะวันตกสูง ๑๙ เมตร กว้าง ๔๙ เมตร มีทั้งหมด ๓ ชั้น ภายในชั้นที่ ๑ ใช้เป็นที่ประกอบพิธีสังฆกรรมและที่ประชุมสงฆ์ ภายในชั้นที่ ๒ เป็นพิพิธภัณฑ์และประวัติตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นของหลวงปู่ศรี มหาวีโร ภายในชั้นที่ ๓ บรรจุพระพุทธรูปพระผง ของศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาค ภายนอกชั้นเรือนยอดพระเจดีย์หินทำเป็นเศวตฉัตรทองคำแท้ น้ำหนัก ๑๐๑ บาท ภายนอกชั้นที่ ๑ กำหนดให้เป็นภาพแกะสลักหินธรรมชาติในเรื่องพระเวสสันดรชาดก ภายนอกขั้นที่ ๒ กำหนดให้เป็นภาพแกะสลักหินธรรมชาติเรื่องพุทธประวัติ ภายนอกชั้นที่ ๓ กำหนดให้เป็นภาพแกะสลักหินธรรมชาติเรื่องพระพุทธชัยมงคล (พระคาถาพาหุง)
            ปัจฉิมวัย
พระเทพวิสุทธิมงคล หรือหลวงปู่ศรี มหาวีโร ปฏิปทาของท่านปฏิบัติลำบาก แต่รู้เร็ว ในยุคสมัยที่กิเลสหนาขึ้นโดยลำดับ
การปฏิบัติของท่านในวัยหนุ่ม ยังมีร่างกายแข็งแรง ยินดีในที่นั่งที่นอนอันเป็นป่าช้าและป่าชัฏอันสงัด ใช้ผ้าบังสุกุล ไม่เริดร้างจากการบิณฑบาต ไม่ต้องการนอนนั่งในที่อันสบาย ใช้ท่อนไม้เป็นหมอนหนุน เป็นอยู่อย่างไม่ประมาท แม้จะทุกข์กายทุกข์ใจเจียนตายถึงน้ำตานองหน้า ร้องไห้อยู่กลางป่าเขาเพียงลำพัง ก็ยังสู้อุตส่าห์ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนได้
                ท่านได้ปฏิบัติถึงที่สุดแห่งกรรมแล้ว จึงออกเผยแผ่พระธรรมคำสอนจาริกพเนจรไปในที่ต่าง ๆ ไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยเมื่อยหิว และท่านยังได้สร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาและวัดสาขาไว้มากมาย ได้สร้างมหาเจดีย์ชัยมงคล ซึ่งยากที่จะหาบุคคลใดมีบุญญาบารมีทำเช่นนี้ได้
นอกจากนี้คณะศิษยานุศิษย์นำโดยพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ ยังได้จัดสร้าง “พระเจดีย์หิน หลวงปู่ศรี มหาวีโร จำลองมาจากเจดีย์บูโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซียที่ท่านชื่นชอบ เพื่อถวายบูชาคุณเป็น “อาจาริยบูชา” เนื่องวาระฉลองอายุครบ ๙๐ ปี ในวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๙ นี้ด้วย แม้ในปัจฉิมวัย ร่างกายท่านระงมไปด้วยอาพาธ ท่านก็ยังเที่ยวไปโปรดศิษยานุศิษย์ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศมิได้ขาด
ธรรมของหลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นธรรมะที่ฟังแล้วเข้าใจง่าย แสดงเรื่องจิต กิเลส กรรม ล้วนๆ แม้ท่านจะไม่ใช่พระประเภทนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เพราะท่านพูดน้อย แต่คำพูดของท่านก็เป็นประเภท พูดน้อยแต่ต่อยหนัก” มีสาระล้วน ๆ
ในวัยชราส่วนมากท่านจะนั่งนิ่ง ๆ เมื่อคนมากราบไหว้ สนทนาเล็กน้อย ท่านก็จะให้พรเพียงเท่านั้น
ข้อวัตรปฏิบัติของท่านในวัยชรา ตอนเช้าท่านยังออกรับบิณฑบาตตามธาตุขันธ์ที่อำนวย หลังจังหันเสร็จท่านเข้าพักเล็กน้อย บางทีท่านก็ออกมาเดินจงกรม ทำสมาธิภาวนา ตรวจบริเวณวัด ตรวจดูเก้ง กวาง นกยูง และสัตว์ต่าง ๆ ภายในวัด ให้อาหารปลาที่สระใหญ่ บางวันก็ออกไปโปรดศิษย์ตามวัดสาขา ส่วนกิจนิมนต์ท่านจะไม่ค่อยรับเพราะธาตุขันธ์ไม่ค่อยอำนวย
แม้ธาตุขันธ์อยู่ในวัยชรา แต่กิริยาท่าทางของท่านคงองอาจสง่างาม ครองจีวรเป็นปริมณฑล สวยงามเสมอ ก้าวย่างเดินอย่างมีสติประดุจราชสีห์ ประชาชนพระเณรล้วนหวั่นเกรงในเมตตาบารมีธรรมของท่านเป็นอย่างมาก
ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ เมื่อพระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน) ประกาศตั้งโครงการทอดผ้าป่าช่วยชาติ ในยามที่ประเทศไทยเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เป็นหนี้สินต่างชาติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านก็เอาธุระของครูบาอาจารย์อย่างเต็มที่ ทั้งที่ธาตุขันธ์ไม่สู้จะอำนวย ท่านก็ยังป่าวประกาศให้ลูกศิษย์ทั้งหลายมาร่วมโครงการช่วยชาติกับหลวงตา ส่วนองค์ท่านเองได้กราบนิมนต์หลวงตามารับทองคำ ดอลล่าร์ จัดผ้าป่าช่วยชาติที่วัดป่ากุงเป็นประจำทุกปี 

                ด้วยความเคารพในองค์หลังตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ปรมาจารย์กรรมฐานในยุคปัจจุบัน ทุกปีท่านจะนำคณะศิษยานุศิษย์ วัดสาขาทั่วประเทศ มาคารวะหลวงตาบ้าง มาทอดผ้าป่าถวายหลวงตาบ้าง ท่านถือปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำทุกปี
เมื่อหลวงปู่ศรีเข้ามากราบหลวงตา ถ้าอาสนะมีขนาดเท่าเทียมกันหรือวางเสมอกันท่านจะไม่ยอมนั่ง ท่านจะนั่งอาสนะบาง ๆ หรือนั่งพื้นเลย นี่คือกิริยาของพระมหาเถระ ที่แสดงความเคารพต่อกันตามแบบอริยตันติประเพณี
ภาพที่ท่านทั้งสองสนทนากัน เป็นภาพที่น่าเคารพรักอย่างยิ่ง พูดพลางยิ้มพลาง กระแสเสียงที่ท่านสนทนากันช่างนิ่มนวลระรื่นหู ประกอบไปด้วยความเอ็นดูและเมตตา หลวงปู่ศรีจะพนมมือสนทนาเหมือนสามเณรองค์น้อย ๆ เป็นผู้นั่งนิ่งเสมอจนกว่าหลวงตาจะเอ่ยถาม ทำให้ผู้คนบางคนที่นั่งดูรู้เห็นถึงกับน้ำตาไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว บ้างก็ปลื้มใจที่มีบุญวาสนาได้เห็นความงามแห่งพระอริยสงฆ์ ถึงกับอุทานว่า
ต่อแต่นี้ไป ภาพแห่งพระมหาเถระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ จะมีปรากฏให้เห็นอย่างนี้อีกหรือไม่หนอ? เรามีบุญแท้เทียวจึงมีโอกาสได้เห็นพระผู้ทรงคุณเช่นนี้ ชาตินี้เกิดมาไม่เสียชาติแท้ ๆ ผ่านจากยุคของพระมหาเถระทั้งสองนี้แล้ว พระผู้มีบุญญาธิการเช่นนี้จะปรากฏอุบัติขึ้นในโลกโดยธรรมได้อีกหรือไม่
หลวงปู่ศรี ท่านมีนิสัยละเอียดอ่อน สุขุม เป็นระเบียบเรียบร้อย ด้วยความที่ท่านเคยเป็นครูมาก่อน จะคิดจะทำอะไรต้องวางแผนงานให้เรียบร้อย ทุกสิ่งทุกอย่างที่สำเร็จได้ล้วนเกิดขึ้นด้วยบุญญาบารมีของท่านเอง นี้คือ บุญญาภินิหาร” ที่ท่านกระทำบำเพ็ญมาแต่บุพเพชาติ ลาภสักการะ ชื่อเสียงปรากฏขึ้นเหมือนของทิพย์ที่หลั่งไหลมาจากสรวงสวรรค์ ท่านจะปรารถนาหรือไม่ก็ตาม นี้คือ อานิสงส์แห่งบุญที่ท่านทำไว้แต่ซาติปางก่อนและปัจจุบันชาติซึ่งตั้งตนไว้ชอบจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ เมื่อเป็นชาติสุดท้ายของท่าน บุญบารมีทั้งหลายที่ท่านกระทำบำเพ็ญไว้ จึงหลั่งไหลหลอมรวมลงมาดังฝนห่าใหญ่ ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข ที่มาถึงท่านจึงเต็มตื้นเกลื่อนแผ่นดินแผ่นฟ้า คิดอะไร หวังสิ่งไหน ย่อมถึงความสำเร็จทุกประการ จนคนทั้งหลายแทบไม่เชื่อสายตาว่า พระรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นเด็กบ้านนอกคอกนา เกิดถิ่นอีสานกันดารแล้ง จะสร้างคุณประโยชน์ให้ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ได้ถึงปานนี้ นี้เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากบุญญานุภาพ บุญญานุภาพ ช่างน่าอัศจรรย์อะไรเช่นนั้น
กว่าจะเป็น หลวงปู่ศรี มหาวีโร พระผู้มากล้นด้วยบุญบารมี..ท่านมีเบื้องหลังคือปฏิปทาอันแกร่งกล้าน่าอัศจรรย์ สู้ตายเพื่อธรรม กรำศึกในธุดงควัตร หาผู้เปรียบได้ยาก และเป็นทายาทธรรมรุ่นสุดท้าย ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ด้วยวัตรปฏิบัติ และปฏิปทาอันนำมาซึ่งความเลื่อมใส สาธุชนจึงพาหลั่งไหลกันมากราบมากขึ้นโดยลำดับ มีพระภิกษุสามเณรและสานุศิษย์มากมายทั่วประเทศ 

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ณ วัดป่ากุง แห่งนี้ รอยเท้าแห่งอริยะคณาอาจารย์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ได้ก้าวย่างจงกรมผ่านเข้ามา เพื่อเยี่ยมเยือนหลวงปู่ศรีอยู่เสมอเช่น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสน์) สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ) พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) หลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ หลวงปู่สาม อกิญฺจโน หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฎฺโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นต้น
ชื่อเสียงของท่านจึงโด่งดังไปทั่วทุกทิศ เป็นที่ศรัทธาของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้นำประเทศ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชนทั่วไป 

นอกจากนั้นทางสำนักพระราชวังยังได้กราบอาราธนานิมนต์ท่าน เนื่องในงานพระราชพิธีสำคัญ ๆ เป็นประจำทุกปี ด้วยเกียรติคุณและคุณ งามความดีอันเกริกก้อง ท่านยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้คือ
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร
วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสังวรอุดม
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕            เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวิสุทธิมงคล
นอกจากนั้นท่านยังได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหามกุฎราชวิทยาลัย สาขาพุทธศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยสมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ เป็นผู้นำมาประทานมอบให้ นอกจากการอบรมสั่งสอนประชาชนในเมืองไทยแล้ว ท่านยังได้เดินทางไปเผยแผ่ธรรมยังต่างแดนเช่น อินเดีย จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ท่านได้ก่อสร้างถาวรวัตถุที่วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) วัดพระมหาเจดีย์ชัยมงคลวัดผาน้ำทิพย์ฯ และวัดสาขา ๑๔๕ สาขา ทั่วประเทศไว้มากมาย ประมาณค่ามิได้แล้วและที่สำคัญยิ่งนั้นก็คือ การสร้างปูชนียสถาน บรรจุพระบรมธาตุและอัฎฐิธาตุ ของถูปารหบุคคล เพื่อเป็นที่สักการบูชาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บนยอดเขาผาน้ำย้อย อันงามสง่าเทียมฟ้า นามว่า พระมหาเจดีย์ชัยมงคล นั้น ย่อมเป็นเครื่องประกาศว่า
อริยสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารูปหนึ่ง นามว่า พระเทพวิสุทธิมงคล (์ศรี มหาวีโร) นามว่า พระเทพวิสุทธิมงคล (์ศรี มหาวีโร) ศิษย์รุ่นสุดท้ายของท่านพระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต เป็นพยานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของพระอริยสงฆ์สาวก และได้ก้าวเดินตามรอยบาทพระศาสดา นี้คือศาสนาที่ทรงมรรคผล นำสัตว์โลกให้พ้นจากทุกข์ได้อย่างแท้จริง
ท่านจึงเป็นผู้มีจิตศรัทธามั่นคงหยั่งรากฝังลึกลงในธรรมพระตถาคตเจ้าแล้ว เป็นผู้ถึงซึ่งการนับได้ว่า สมณศากยปุตติยะโดยแท้ คือ ผู้เป็นบุตร เป็นโอรส อันเกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดโดยธรรม เนรมิตโดยธรรม เป็นทายาทโดยธรรม ท่านเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่
เป็นผู้ไม่เกิดความยินดียินร้าย มีจิตมัธยัสถ์ เป็นกลาง มีความระลึกได้ และรู้สึกตัวเป็นประจำ เป็นผู้ไม่เหลวไหล ไม่เหลวแหลก ตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นสาระ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล คือ สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจรมีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าโทษเล็กน้อย เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง คือปรารภความเพียร เป็นผู้มีกำลังแข็งขัน ทำความเพียร ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความไวแห่งปัญญา คือรู้ชัดตามความเป็นจริง แตกฉานในอริยสัจจ์ว่าความไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้ๆ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ เป็นเช่นนี้
เพราะเหตุฉะนี้แล พระเทพวิสุทธิมงคลหรือหลวงปู่ศรี มหาวีโร วัย ๙๐ ปี พรรษา ๖๑ ท่านจึงเป็นผู้ควรแก่การสักการบูชา ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรแก่การนบไหว้ เป็นเนื้อนาบุญไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้แลฯ
มหาวีรตฺเถรวตฺถุ นิฏฺฐิตํ